คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของลูกค้าประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ธนภรณ์ เตินเตียน
ฐิตารีย์ ศิริมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของลูกค้าประกันชีวิตที่มีต่อคุณภาพการบริการและความตั้งใจซื้อซ้ำของลูกค้าประกันชีวิตบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ลูกค้าประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ  


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานะโสด อายุระหว่าง 28-37 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ย 10,001 – 20,000 บาท คุณภาพการบริการมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.69 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือ ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ด้านการตอบสนองต่อผู้บริการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และ ด้านความน่าเชื่อถือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ด้านคุณภาพการบริการ ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้า ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้บริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้านความน่าเชื่อถือ พบว่า มีความสัมพันธ์ต่อกลุ่มตัวแปรอิสระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อซ้ำของลูกค้าได้ร้อยละ 29.30

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารผ่านผู้ให้บริการ Food Panda Application. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(1), 153-162.

ชุติมา ห้าวหาญ. (2559). ความพึงพอใจและความต้องการใช้บริการซ้ำของลูกค้าห้างหุ้นส่วนจำกัดทวีวัฒน์กำจัดปลวก. (การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).

ณรงค์พจน์ งามวงศ์วิเชียร และ พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการซื้อซ้ำกระเป๋าแบรนด์เนมมือสองของร้านวันใหม่ช้อปผ่านระบบออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารรังสิต บัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(1), 242-257.

ณัฐกานต์ เตียววัฒนานนท์. (2562). การรับรู้คุณค่าตราสินค้า ความไว้วางใจและคุณภาพการบริการ ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคร้านอาหารประเภทชาบูในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

นัฐกานต์ เครือชัยแก้ว. (2557). การรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรบริการธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ปัณติฌา ธรรมกุลธารี และ สมชาย เล็กเจริญ. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ เสื้อผ้าแฟชั่นผ่านแอปพลิเคชันโพเมโลของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(2), 110-126.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มณีรัตน์ รัตนพันธ์ อาจารย์พิฑูรย์ ทองฉิม อาจารย์นิตติยา ทองเสนอ. (2562) การรับรู้ภาพลักษณ์ธุรกิจประกันชีวิตของผู้บริโภคในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. กองทุนประกันชีวิต.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กันการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาล เปาโลรังสิต. (การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรปริญญาบริการ ธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

วรัสสิญา ศุภธนโชติพงศ์. (2562). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการซ้ำของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาพื้นที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร ภาค 203. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วิรัตน์ ชนะสิมมา และ ทตมัล แสงสว่าง. (2564). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่ชำระภาษีท้องถิ่นกับเทศบาล ตำบล หนองนาคำ กรณีศึกษาตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

ศรายุทธ แดงขันธ์. (2563). คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจใช้ซ้ำคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

สุมามาลย์ ปานคำ และ ณัฐยุพา ทิวากรโกมล. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำเครื่องสำอาง บนเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศิลปะการจัดการ. 5(2), 272-285.

อรประพัทธ์ ณ นคร. (2560). ความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).

Admin. (2564) รายการข้อมูลกรมธรรม์ประกันชีวิต. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จาก https://agent.aia.

co.th/awa/Mainthai.jsp?mod=policy&subpg=/Policythai/PolquickQuery.jsp

Hellier, P. K., Geursen, G. M., Carr, R. A., and Rickard, J. A. (2003). Customer repurchase intention: A general structural equation model. European Journal of Marketing, 37(11/12), 1762-1800.

Kim, C., Galliers, R. D., Shin, N., Ryoo, J. H., and Kim, J. (2012). Factor influencing internet shopping value and customer repurchase intention. Electronic Commerce Research and Application, 11(4), 374-387.

Siddiqui,K. (2013). Heuristics for Sample Size Determination in Multivariate Statistical Techniques. World Applied Sciences Journal, 27(2), 285-287.

Zeithaml, V. A., Berry, L. L., and Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequence of service quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46.