ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ธวัช ทะเพชร
นเรศ สุรสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR และ 3) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่น การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง บุคลากรและนักศึกษา จำนวน 95 คน และสัมภาษณ์ บุคลากรและผู้บริหาร จำนวน 10 คน ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่น โดยรวม พบว่า ระดับการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ของบุคลากรและนักศึกษา อยู่ในระดับ ปานกลาง ( gif.latex?\bar{X} =3.13, S.D.=0.33) โดยเรียงลำดับด้านมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ ( gif.latex?\bar{X}=3.29, S.D.=0.45) ด้านลักษณะนิสัยในการใช้ภาษาอังกฤษ ( gif.latex?\bar{X}=3.05, S.D.=0.55) และด้านเจตคติที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ( gif.latex?\bar{X}=2.85, S.D.=0.79) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น โดยรวมทุกด้าน พบว่า ด้านความเข้าใจง่าย X3 และด้านความคล่องแคล่ว X2 มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .676 และ .174 ตามลำดับ 3) แนวทางแก้ไขปัญหาในการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ควรสร้างเทคนิคสร้างพื้นฐานการเรียนรู้จากสื่อรอบตัว โดยการใช้สื่อภาพยนตร์ เพลง และข่าวสารข้อมูลต่างๆ ในการช่วยฝึกทักษะการฟัง หมั่นฝึกฝนการฟังอย่างสม่ำเสมอ ทั้งฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยการร้องเพลงจะช่วยฝึกการหัดออกเสียง หรือใช้แอปพลิเคชันช่วยพัฒนาทั้งสามารถตั้งระยะเวลาที่ต้องการเรียนภาษา ตลอดถึงการอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษตามระดับภาษาที่จะทำให้ได้ทั้ง  ความสนุกสนานและความรู้ภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพและวิธีการเรียนรู้ที่ส่งผลดีต่อตนเอง ควรมีโอกาสสนทนากับชาวต่างชาติ อันจะทำให้เกิดความสนุกในการเรียนรู้ภาษาหรือมองเห็นข้อบกพร่องทางการใช้ภาษาและแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดที่จะส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้มีความรู้สึกว่าภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่มีประโยชน์ มีความสำคัญและจำเป็น มีคุณค่าควรแก่การศึกษา และสร้างความชอบภาษาอังกฤษอีกทั้งเล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของภาษาอังกฤษที่ใช้เพื่อการสื่อสารที่เหมาะสมกับความรู้และกระตุ้นให้คิดหาเหตุผลในการตอบคำถามอย่างถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกชา สอนหาดเวน. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำความหมายคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแสงตะวันพัฒนาจังหวัดเลย โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปร่วมกับสื่อมัลติมิเดีย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วน จำกัด สามลดา.

จรินทร์ธร ภัทรพงศ์โอฬาร. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้ใช้ชุดฝึกพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษผ่านสื่อสิ่งพิมพ์สาธารณะของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1. (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

ชนิกา วิชานนท์. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ธีร์วรา ปลาตะเพียนทอง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์และความคงทนโดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับสมุดภาพคำศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

เพ็ญนภา ตลับกลาง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีสอนกิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขียนเขต. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พรสวรรค์ ชัยมีแรง. (2564) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 68-82.

รงคเทพ ลิ้มมณี. (2563). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เกมเพื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 26(2), 40-51.

สุวนิตย์ รุ่งราตรี. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา(ระดับหลักสูตร) ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในปีพ.ศ. 2557 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 5(2), 61-68.