การพัฒนารูปแบบอาหารท้องถิ่นในเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สู่การเป็นเมืองพักผ่อนเพื่อสุขภาพชั้นนำ ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วิชชาญ จุลหริก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบอาหารท้องถิ่นกับเส้นทางการท่องเที่ยว  เชิงสร้างสรรค์สู่การเป็นเมืองพักผ่อนเพื่อสุขภาพชั้นนำ ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อศึกษาอุปสรรคการพัฒนาอาหารท้องถิ่นกับเส้นทางการท่องเที่ยว ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวของพื้นที่ดังกล่าว การศึกษานี้เป็นรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ประกอบการอาหารย่านเมืองสงขลา จำนวน 10 ราย หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัด เทศบาลเมือง พัฒนาการจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด การท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา จำนวน 6 ราย โดยทั้งกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่จำนวน 100 คน ที่ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 116 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้สถิติเชิงพรรณาโดยการหาค่าร้อยละ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการในการพัฒนารูปแบบอาหารท้องถิ่นของกลุ่มนักท่องเที่ยว คือ ต้องการให้อาหารมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มีความสะอาดถูกสุขอนามัย มีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ต้องการการต้อนรับจากทางร้านต้องการให้ร้านมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น รวมถึงต้องการมีส่วนร่วมในการรับชมการสาธิตการปรุงอาหารมากที่สุด ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขาดความรู้ทางการตลาด รวมถึงขาดประสบการณ์ในการประกอบกิจการ เน้นการทำกิจการเชิงรับมากกว่าเชิงรุก จึงจำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาขับเคลื่อน ประกอบกับการขาดงบประมาณในการลงทุนดังกล่าว รวมถึงปัญหาราคาวัตถุดิบที่ขึ้นราคาสูงขึ้น และปัญหาช่องทางการจัดจำหน่ายที่ยังไม่ตอบโจทย์กับรูปแบบการท่องเที่ยวในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงาน สถิติการท่องเที่ยวของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานสถิติการท่องเที่ยวของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ธนกฤต สังข์เฉย. (2552). อิทธิพลของปัจจัยทางจิตวิทยาผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 29(1), 57-81.

ภัทรพร พันธุรี. (2558). การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยผ่านประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(2), 27-37.

ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา. (2556). ผักพื้นบ้าน: ภูมิปัญญา และมรดกที่คนไทยหลงลืม. กรุงเทพฯ: สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณษา แสนลำ, ศิริพร เลิศยิ่งยศ และ สุภาวดี มณีเนตร. (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 54-69.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2536). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาชนบท. ใน เสรี พงศ์พิศ (บรรณาธิการ). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

อรวรรณ จำพุฒ และ อัครพล นิมมลรัตน์. (2550). แนวทางการพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2543). ภูมิปัญญาชาวบ้าน 4 ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Binkhorst, E. (2006). The Co–Creation Tourism Experience [On–line]. Retrieved December 20, 2022, from http://www.esade.edu/cedit2006/pdfs2006/papers/esther_binkhorst_paper_esade_may_06.pdf