พฤติกรรมการเดินทางบนความปกติใหม่ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาความพร้อมทางการเดินทางการท่องเที่ยวในปัจจุบันของจังหวัดมหาสารคาม และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางบนความปกติใหม่ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม ขอบเขตการวิจัยการ โดยใช้ระยะเวลาวิจัยตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึง เดือน มกราคม พ.ศ.2564 กับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) จากการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทาง ท่องเที่ยว/เยี่ยมชมสถานที่ ร้อยละ 68.75 ความถี่ในการเดินทางต่อเดือน นานๆครั้ง ร้อยละ 62.25 ลักษณะการเดินทางมากับกลุ่มเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 39.50 จำนวนผู้ร่วมเดินทาง 1 คน ร้อยละ 27.00 มีชนิดของพาหนะที่ท่านใช้ในการเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 59.50 มีระยะเวลาที่เดินทางน้อยกว่า 1 วัน ร้อยละ 46.00 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,000 บาทหรือต่ำกว่า ร้อยละ 41.50 และมีนักท่องเที่ยวทราบข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนี้จากสื่อใด อินเตอร์เน็ต/เว็บไซต์/โซเซียลเน็ตเวิร์ค เช่น Facebook, Line เป็นต้น ร้อยละ 40.75 สำหรับพฤติกรรมการเดินทางบนความปกติใหม่ของการท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อพฤติกรรมการเดินทางบนความปกติใหม่ของการท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม นักท่องเที่ยววางแผนเดินทางท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติในอนาคต ระดับมากที่สุด(=4.98) รองลงมาคือ คำนึงถึงความสะอาด อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.81) และปัจจัยที่มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด คือต้องการเดินทางไปยังพื้นที่จัดงานเทศกาล อยู่ในระดับน้อย (=2.20)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). สถิติเพื่อการตัดสินใจ: การวิเคราะห์สถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
ชนพัฒน์ ช่วยครุฑ, อมรฤทัย ภูสนาม และ อรอนงค์ เดชมณี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังยุคโควิด 19. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 187-201.
พัชรียา แก้วชู. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ New Normal หลังการแพร่ระบาดโควิด-19. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1), 77-89.
พุทธพร โคตรภัทร. (2562). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ Alexander จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 158-171.
ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2021). ท่องเที่ยวไทยในโลกหลังโควิด. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2563). การเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวครั้งแรกและนักท่องเที่ยวซ้ำ.วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 9(2), 41-59.
สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม. (2563). สถาการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม.
Bhaskara, G. I. (2021). The COVID-19 pandemic and organizational learning for disaster planning and management: A perspective of tourism businesses from a destination prone to consecutive disasters. Journal of Hospitality and Tourism Management, 501, 364-375.
Krungthai COMPASS (2563). แนะธุรกิจใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปรับใช้เทคโนโลยีชีวภาพและดิจิทัล รับมือ 3 กระแสเปลี่ยนโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2563, จาก ttps://krungthai.com/th/krungthai-update/news-detail/641
Sharma, G. D. (2021). Reviving tourism industry post-COVID-19: A resilience-based framework. Tourism Management Perspectives, 37, 107-118.
Tourism Authority of Thailand. (2020). คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว.TAT Review, 1-12.
Zhang, H. (2021). Forecasting tourism recovery amid COVID-19. Annals of Tourism Research, 10, 103-149.