แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดทำบัญชีของนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พลากร เวียงใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาถึงสภาพทั่วไปของSMEs 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาการทำบัญชีของSMEs 3) เพื่อสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการจัดทำบัญชีของSMEs และ 4) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีให้แก่ SMEs ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้มาจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ทำบัญชีของ SMEs จำนวน 382 ราย โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการสกัดองค์ประกอบที่ไม่สำคัญออกไป และหมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธี Varimax Orthogonal Rotation


        ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1) สภาพทั่วไป พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบัญชี/หัวหน้าแผนกบัญชี(ผู้ทำบัญชี) ประสบการณ์การจัดทำบัญชี 1 ปี ลักษณะของการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ลักษณะของการประกอบธุรกิจให้บริการ ขนาดของวิสาหกิจที่ประกอบกิจการการจ้างงานไม่เกิน 15 คน มูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 30 ล้านบาท เงินลงทุนในนิติบุคคลขนาดเล็ก(มีเงินลงทุนตั้งแต่ 100,000-300,000 บาท) ระยะเวลาดำเนินงาน 1-3 ปี และผู้ทำบัญชีของกิจการคือพนักงานบัญชีของกิจการ 2) ปัญหาการทำบัญชีของSMEs พบว่า ภาพรวมด้านผู้ทำบัญชีและด้านผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี มีระดับปัญหาการจัดทำบัญชีของSMEsอยู่ในระดับปานกลาง ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนภาพรวมด้านการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี มีระดับการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานอยู่ในระดับมาก เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจเพื่อนำไปพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีของSMEs พบว่า ชุดตัวแปรที่ทำการศึกษาสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 3 องค์ประกอบหลักซึ่งมี 33 ตัวบ่งชี้ ที่มีความสัมพันธ์กันและส่งผลต่อจัดทำบัญชีของSMEs คือ 1) ด้านการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี 2) ด้านผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี 3) ด้านผู้ทำบัญชี มีค่าคะแนนองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.557–0.873 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 65.997 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทางแก้ไขปัญหา คือการจัดทำบัญชีต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีจะช่วยให้ธุรกิจเจริญเติบโต ต้องควบคุมกระบวนการในการจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามระบบบัญชี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ข้อมูลจดทะเบียนนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่ ณ 31 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563, จาก http://www.knowledgebase.dbd.go.th/dbd/BRA/braTime series.aspx.2555.

กัลย์ธีรา สุทธิญาณวิมล. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีของสถานประกอบการประเภทห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพ.

สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทย์พัฒน์.

อภิญญา วิเศษสิงห์. (2556). การจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อังคณา นุตยกุล. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ทำบัญชีในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีไทย สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต).

Yamane, Taro. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.