คุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทย

Main Article Content

สุพัตรา หารัญดา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลของนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี ในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทย จำแนกตาม ที่ตั้งของสำนักงาน จำนวนพนักงานในสำนักงาน และจำนวนปีที่จัดตั้งสำนักงาน 4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทย จำแนกตาม ที่ตั้งของสำนักงาน จำนวนพนักงานในสำนักงาน และจำนวนปีที่จัดตั้งสำนักงาน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทย จำนวน 190 คน ได้มาโดยวิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยแบบสอบถามตอบกลับมา จำนวน 137 คน การเก็บข้อมูลแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ F-test (ANOVA และ MANOVA)


ผลการวิจัยพบว่านักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทยความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัล ได้แก่ ด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม (gif.latex?\bar{X} = 4.50) ในระดับมาก รองลงมา ด้านการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหา (gif.latex?\bar{X} = 4.45) และด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (gif.latex?\bar{X} = 4.31) และมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ด้านความพึงพอใจของทุกฝ่าย (gif.latex?\bar{X} = 4.56) ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน (gif.latex?\bar{X} = 4.49) ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ (gif.latex?\bar{X} = 4.36) อยู่ในระดับมากตามลำดับ


นักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย ที่มีที่ตั้งของสำนักงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะนักบัญชีโดยรวมและรายด้าน ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม ไม่แตกต่างกัน นักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย  ที่มีที่จัดตั้งสำนักงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านความพึงพอใจของทุกฝ่ายไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ นักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทยที่มีจำนวนปีที่จัดตั้งสำนักงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านความพึงพอใจของ ทุกฝ่ายไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร บุญธรรม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของหัวหน้าสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2564). “รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพ.”. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=5303

ชไมพร ชงโค. (2559). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์).

ชาญชัย ชัยประสิทธิ์. (2562). นักบัญชียุคใหม่ คู่คิดซีอีโอฝ่าทุกกระแสดิสรับชั่น เทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 จาก https://www.salika.co›reskill-upskillaccountant- fight-disruption.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปริญญา สัตยธรรม. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา : บริษัท วาย เอช เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด. (สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร).

พิมพ์ ฉัตรเงิน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพและแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชี การประปาส่วนภูมิภาคเขต 2. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ศิริเดช คำสุพรหม. (2562). นักบัญชียุคใหม่ คู่คิดซีอีโอฝ่าทุกกระแสดิสรับชันเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2563 จาก https://www.salika.co›reskill-upskillaccountant- fight-Disruption.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2559). การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/67987.

สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

Aaker, D. A., Kumar, V., and Day, G. S. (2001). Marketing Research (7th ed.). New York: John Wilery & sons.

Krejcie,R.V. and Morgan.D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement, 30(1), 607-610.