การวิจัยเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในอำเภอไชยปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3

Main Article Content

รัตนาภรณ์ ยาประเสริฐ
สิทธิชัย มูลเขียน
สังวาร วังแจ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในอำเภอไชยปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 84 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 21 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 42 คน และคณะกรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ปกครองในคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนในอำเภอไชยปราการ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โรงเรียนละ 1 คน ในปีการศึกษา 2566 ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาที่ทำหน้าที่ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


  1. ผลการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในอำเภอไชยปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยภาพรวมมีสภาพการดำเนินงานที่ดีอยู่ในระดับมาก

  2. ผลของแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในอำเภอไชยปราการ ทั้ง 3 ด้านดังนี้ ด้านคุณภาพของเด็ก ได้แก่ ด้านสติปัญญา ควรฝึกให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยมีครูคอยชี้แนะแนวทางตามความเหมาะสม ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการวางแผนงานเป็นระบบ การประชุมปรึกษาหารือ จัดบุคลากรลงในชั้นเรียนให้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการบริหารการจัดการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถนำไปต่อยอดได้ และด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ได้แก่ ควรมีการนิเทศ ติดตาม จัดสื่อการจัดประสบการณ์ จัดเทคโนโลยีให้เพียงพอและทันสมัย ผู้บริหารควรนำหลักการบริหารงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนทำงานแบบมีส่วนร่วมและร่วมประชุมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจตรงกันในด้านการจัดประสบการณ์เน้นเด็กเป็นสำคัญให้ตรงตามพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กันตวรรณ มีสมสาร. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 54.

คนาวรรณ พันธ์โชติ. (2559). สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี)

ธนภร นิโรธร. (2559). การศึกษาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ-พระนครศรีอยุธยา).

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยะนุช ศรีตะปัญญะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อติจิต บุญมี. (2563). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของกลุ่มเครือข่ายท่าปลาพญาจริมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).

อังคณา บุญพามี. (2556). การพัฒนาสมรรถนะครูผู้ดูแลเด็กกับการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

แอน สุขะจิระ. (2558) . การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารวิชาการ ระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสาขาวิชาการบริหารการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 2(1), 7.

ฤทัยรัตน์ ฝ่ายเทศ. (2562). สภาพ ปัญหาและประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็กปฐมวัยโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 140.