การสร้างแบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สาระวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ สำหรับนักศึกษา สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ ตามกรอบการประเมินความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของ PISA
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สาระวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ ตามกรอบการประเมินความฉลาดรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ ของ PISA กลุ่มเป้าหมายการวิจัยมี 2 กลุ่มได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการพัฒนาเครื่องมือ ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงคุณสมบัติ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์หรือด้านวิทยาศาสตร์สาระวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือการวัดและประเมินผลการศึกษา 2 คน 2) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ทดสอบหาคุณภาพเครื่องมือ ได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมของแบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สาระวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ 2) แบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สาระวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนีความยาก ค่าดัชนีอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นจากสูตร KR-20
ผลการวิจัยได้แบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สาระวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ ตามกรอบการประเมินความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ของ PISA เป็นแบบวัดแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มุ่งประเมินในสมรรถนะวิทยาศาสตร์ 3 ด้านได้แก่ ด้านการอธิบายปรากฏการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 12 ข้อ, ด้านการประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 ข้อ และด้านการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ(IOC) ระหว่าง 0.60–1.00, ค่าดัชนีความยากรายข้อมีค่าระหว่าง 0.27–0.73 ทุกข้อ ยกเว้นข้อ 4 และ 20 ที่มีความยากเกินเกณฑ์ (มีค่าดัชนีความยาก 0.17 ทั้งสองข้อ) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ปรับแก้ไขให้มีคุณภาพ, ค่าดัชนีอำนาจจำแนกทุกข้อมีค่าอยู่ระหว่าง 0.22–0.78 และผลการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของความสอดคล้องภายใน (internal consistency of reliability) โดยใช้สูตรของคูเดอร์และริชาร์ดสัน (KR-20) พบว่าแบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.65
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่าง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
พัทธดนย์ อุดมสันติ, ธิติยา บงกชเพชร และ ทนงศักดิ์ โนไชยา. (2019). การพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 118-130.
ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). การวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไรและทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ ตามมาตราฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุทัศน์ บุญสิทธิ์. (2560). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐานและเมตาคอกนิชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และการคิดไตร่ตรอง ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 253-264.
Cureton, E.E. (1957). The Upper and Lower twenty-seven percent rule. Psychometrika, 22(3), 293-296
Kelley. T.L. (1939). The Selection of Upper and Lower groups for the Validation of Test items. Journal of Educational Psychology, 30(1), 17