ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการชำระหนี้และความสามารถในการทำกำไรกับ เงินปันผลของหุ้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET

Main Article Content

จิราภา ชาลาธราวัฒน์
สุมินทร เบ้าธรรม
ดวงฤดี อู๋
มุทิตา แสงแก้ว
ปภาวรินท์ แสงทาดา
อรทัย ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการชำระหนี้และความสามารถในการทำกำไรกับอัตราเงินปันผลของหุ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัส  โคโรนา 2019 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวบรวมข้อมูลมาจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET ระหว่าง ปี พ.ศ. 2563 - 2564 ที่มีข้อมูลครบถ้วนจำนวน 196 บริษัท ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการเงิน เนื่องจากหลักทรัพย์กลุ่มดังกล่าวมีลักษณะเฉพาะและมีโครงสร้างทางการเงินที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการชำระหนี้และความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET ไม่มีความสัมพันธ์กับเงินปันผลของหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อสนเทศที่ได้รับเป็นข้อสังเกตของความสามารถในการชำระหนี้และความสามารถในการทำกำไรและการจ่ายเงินปันผล ในกรณีที่เกิดปรากฎการณ์ COVID-19   ซึ่งฐานะทางการเงินของธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยานี ภาคอัต และ ชยงการ ภมรมาศ. (2561). เงินปันผลและผลตอบแทนหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1405-1421.

ซัยนุบดิน จินตรา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). การเปิดเผยการจ่ายปันผล. สืบคืนเมื่อ 29 มีนาคม 2565, จาก https://www.set.or.th/th/listing/listed-company/simplified-regulations/disclosure/ dividend-payment

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ธนาคารพาณิชย์ควรจ่ายเงินปันผลหรือไม่ท่ามกลางภาวะวิกฤตโควิด 19? สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2565, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications /articles/Pages/Article_13Nov2020.aspx

บัณฑิตา บำรุงวัฒ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการชำระหนี้กับเงินปันผลต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

บุญฤทธิ์ เหมปราชญ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษาบริษัทในกลุ่มธุรกิจการแพทย์ของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ภาณะพันธ์ เพ็ชร์ไพศาล. (2562). ผลกระทบของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อการวัดมูลค่าราคาตลาดของหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

สมเกียรติ์ ไพโรจน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่าหุ้นและอัตราเงินปันผลตอบแทน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

สาริยา นวลถวิล. (2562). อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

อาภาภรณ์ พันธ์เขียว และ พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2565) . ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อความสามารถในการทำกำไรและความสามารถในการชำระหนี้ ของกลุ่ม อุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

Gordon, J. (1959). Dividends, Earnings and Stock Price. Review of Economics and Statistics, 41(2), 99-105.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Lintner, J. (1956). Distribution of Incomes of Corporations among Dividends, Retained Earnings, and Taxes. American Economic Review, 46, 97-113.