ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach)

Main Article Content

นเรียน นามบุญเรือง
นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เรื่องการคูณของนักเรียนที่เรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และ วิธีการแบบเปิด (Open Approach)  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 38 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เลือกมาโดยวิธีเจาะจง  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการคูณ จำนวน 6 แผน 2) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 3) เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ และ 4) กล้องบันทึกภาพนิ่ง 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกวีดิทัศน์ชั้นเรียน และการบันทึกภาพนิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ย (Mean) และผลการวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เรื่องการคูณของนักเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และ วิธีการแบบเปิด (Open Approach) พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และ วิธีการแบบเปิด (Open Approach) นักเรียนผ่านเกณฑ์ 60% คิดเป็นร้อยละ 86.84  นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 14.34 คะแนน  (S.D. = 3.54 ) ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนอย่างมาก เริ่มตั้งแต่ความคิดรวบยอดพื้นฐานของนักเรียนที่จะต้องทำความเข้าใจปัญหาในการจำแนกปัญหาปลายเปิดว่าเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางคณิตศาสตร์เรื่องใด การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดพื้นฐานมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาได้อย่างถูกวิธีและการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ให้ถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นภาพร วนเนตรสุดาทิพย์. (2564). การสร้างชุมชนแห่งวิชาชีพ (PLC) จากการศึกษาชั้นเรียน. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 347-358.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการจัดการเรียนรู้กล่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อัมพร ม้าคนอง. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิด บริบทที่ใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับ การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. An Online Journal of Education http://edu.chula.ac.th/ojed.Vol 12,No 3,2017,pp 442-458.

Creswell, J.W. (2013). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches (4thed). London: SAGE Publications, Inc.

Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing a Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47-66.

Lewis. C., (2002). Lesson Study : A handbook of teacher-led Instructional change. Research for better school, inc.

Lewis, A. (2006). The effects of information sharing, organizational capability and relationship characteristics on outsourcing performance in the supply chain: an empirical study [Doctoral dissertation, Ohio State University]. OhioLINK Electronic Theses and Dissertations Center. http://rave.ohiolink.edu/etdc/view?acc_num=osu1154620550

Nohda, N. (2000). A Study of “Open-Approach” Method in School Mathematics Teaching. Makuhuri: University of Tsukuba.

Shimizu, S. (2006). Professional Development through Lesson Study: A Japan Case. Paper Presented at APEC International Symposium on Innovation and Good Practice for teaching and Learning Mathematics through Lesson Study, Khon Kaen Session.