ผลกระทบส่วนประสมการตลาดออนไลน์ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเว็ปไซต์ LAZADA Thailand ของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

พรรณภา สรสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเว็บไซต์ LAZADA จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเว็บไซต์ LAZADA 3) เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเว็บไซต์ LAZADA ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้บริโภคในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเลือกผู้ที่เคยซื้อสินค้า ผ่านเว็บไซต์ LAZADA อย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 420 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ t-test, One Way ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการ  เพิ่มตัวแปรแบบหลายขั้นตอน (Stepwise) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่มีอายุ อาชีพ รายได้ ที่แตกต่างกัน มีกระบวนการตัดสินใจซื้อในทุกขั้นตอนไม่แตกต่างกัน และพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเว็บไซต์ LAZADA โดยมีความถี่ในการซื้อน้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ในการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งนาน 6-15 นาที และ  ใช้งาน Lazada ในการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่นมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศที่ต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจซื้อที่ต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ได้แก่ ปัจจัยผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การให้บริการส่วนบุคคล และ การรักษาความเป็นส่วนตัว ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้า ของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเว็บไซต์ LAZADA

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.

ชนิตา เสถียรโชค. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์บน Lazada พนักงานธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธัญลักษณ์ สุมนานุสรณ์. (2562). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 6(2), 175-188.

ธิคณา ศรีบุญนาค และ อุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(3), 88-100.

ธีรวุฒิ เอกกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ภูษณ สุวรรณภักดี และ วิลาวัลย์ จันทร์ศรี. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจ ทัศนคติ และส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(2), 21-38.

โยษิตา นันทิภาคย์ และ คม คัมภิรานนท์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านมัลติแบรนด์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Instagram ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย, วารสารรัชต์ภาคย์, 14(36), 130-146.

วริศรา สู้สกุลสิงห์ และ วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 99-117.

วุฒิ สุขเจริญ. (2561). วิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2552). การวิจัยการตลาดและระบบสารสนเทศทางการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สิทธิชัย พิทักษ์พงศ์ และ ฉันทนา ปาปัดถา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้ามือสองแบรนด์เนมทางเฟซบุ๊ก. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. 3(2). 103-117.

สิริชัย ดีเลิศ และ สุภาวดี รัตนพงศ์พันธ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้บริโภคตลาดเฉพาะกลุ่ม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silapakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 2404-2424.

เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุน. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคกับธุรกิจค้าปลีก. กรุงเทพฯ: ชีเอ็ดยูเคชั่น.

อนุศักดิ์ รัตนกนกกาญจน์ และ ปรฉิตัร วงศปัจฉิม. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารบริหารธุรกิจ ศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 44-63.

อิทธิพงษ์ ชละธาร และ พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2564). ส่วนประสมการตลาดและคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าตรายูนิโคล่ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 16-29.

อุมาวรรณ วาทกิจ. (2566). ส่วนประสมทางการตลาด 4Es ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าสินค้าอุปโภคบริโภคของผู้บริโภคผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 13(1), 30-45.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2013). Multivariate Data Analysis: Pearson New International Edition, Always Learning.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York : McGraw-Hill.

Les, D., Francisco, R., and Emma, B. (2021). Going digital? The impact of social media marketing on retail

website traffic, orders, and sales [abstract]. Journal of Retailing and Consumer Services, 60, 102501.