การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จําลองร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สถานการณ์จำลองร่วมกับสื่อมัลติมีเดียให้มีคะแนน เฉลี่ยตามเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สถานการณ์จำลองร่วมกับสื่อมัลติมีเดียมีคะแนน เฉลี่ยตามเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายประชากรนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสนามบิน ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด 31 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ 12 แผน รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบประเมินทักษะการฟัง จำนวน 15 ข้อ 3) แบบประเมินทักษะการการพูด จำนวน 15 ข้อ โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองขั้นต้น (Pre-experimental Design) ใช้การทดสอบแบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังเรียน One-group Posttest Only Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สถานการณ์จำลองร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีคะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป พบว่า คะแนนด้านทักษะการฟังภาษาอังกฤษเฉลี่ยเท่ากับ 12.10 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ เป็นร้อยละ 80.71 ของคะแนนเต็ม มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 26 คน เป็นร้อยละ 80.71 สูงกว่าเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ 2) การพัฒนาทักษะ การพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สถานการณ์จำลองร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีคะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์ ร้อยละ 70 ขึ้นไป พบว่า คะแนนด้านทักษะการฟังภาษาอังกฤษเฉลี่ยเท่ากับ 11.77 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์เป็นร้อยละ 78.52 ของคะแนนเต็ม มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 24 คน ร้อยละ 78.52 สูงกว่าเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
เจนจิรา ชัยปาน ทรายขวัญ พรมแก้ว สิทธิ์ ศรีนาญ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล ชั้นปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย).
ณัฐวดี ธรรมเดชะ. (2559). ผลการใช้เทคนิควาดภาพตามคำบอกเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
บวรจิต พลขันธ์. (2551). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สถานการณ์จำลอง.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
วรางคณา เค้าอ้น. (2560). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โดย ใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
สุมิตรา อังค์วัฒนะกุล. (2537). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว. (2560). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนระดับอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ: การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนา ศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
Crookall & Oxford. (1990). Vocabulary Learning: A Critical Analysis of Techniques. TESL Canada Journal, 7(2), 09–30.
Jones, Leo (1983.) Functions of American English Students Book: Communication Activities for the Classroom by Leo Jones. Cambridge, UK: Cambridge University press.
Lyu, Yeonhwan. (2006). Simulations and Second /Foreign Language Learning: Improving Communication Skills through Simulations. (Thesis of Master of Arts, University of Toledo).