การพัฒนาความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรููปแบบผสมผสานการสืบเสาะหาความรู้ 7E ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วิชชญา กันบุรมย์
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อใช้การจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบสืบเสาะหาความรู้ 7E ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนทั้งหมด และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อใช้การจัดการเรียนรู้ผสมผสาน แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนทั้งหมด และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง จังหวัดขอนแก่น ที่กำลังศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง รูปแบบ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงจร การสอนจำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชากลศาสตร์ จำนวน 6 แผน 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 3) แบบบันทึกหลังการสอน 4) แบบทดสอบท้าย วงจรจำนวน 3 วงจร 5) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ และวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 16.50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.50 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 27 คน เท่ากับร้อยละ 84.37 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 17.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.25 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 29 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 90.62 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2562). การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ โดยเสริมกิจกรรมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CMU.the.2007.32.

สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.(2564). การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13 (พ.ศ. 2566 - 2570). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่139ตอนพิเศษ258ง. หน้า1.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E model. The Science Teacher,70(6), 56.