การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ร่วมกับเกมมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษและ 2) พัฒนาความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ร่วมกับเกมมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ขึ้นไป ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน โรงเรียนหนองกุงพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น ทดลองกลุ่มเดียววัดผลหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับเกมมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 14 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวน 15 ข้อ และ 3) แบบทดสอบ วัดความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวน 15 ข้อ ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ เครื่องมือได้รับการประเมินคุณภาพ ความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ และความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ร่วมกับเกมมัลติมีเดีย พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย 10.85 คิดเป็นร้อยละ 72.33 ผ่านเกณฑ์ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) ผลการพัฒนาความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ร่วมกับเกมมัลติมีเดีย พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย 10.50 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 70.00 ผ่านเกณฑ์ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ขจิตรัตน์ สูงกลาง. (2562). การใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนการกุศลหลวงปู่ศรีจันทร์วัณณาโภ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 5(2), 1-9.
นิโรจน์ คำสงค์. (2565). การอ่านคำภาษาอังกฤษแบบแจกลูกสะกดคำเทียบเสียงแบบ (Phonics) โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา, 1(1), 84-91.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประภัสสร บราวน์ และ แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2564). การพัฒนาความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการแสดงประกอบการเล่านนิทาน. วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 194-206.
ปริสุทธิ์ บุษบา และ แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2565) . การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 9(2), 95-112.
ปัญญาพร ปาละวัน. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษโดยใช้เกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 126-136.
รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2559). ผลการใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 1030-1045.
โรงเรียนหนองกุงพิทยาคม. (2564a). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหนองกุงพิทยาคม พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลาง. ขอนแก่น: โรงเรียนหนองกุงพิทยาคม.
โรงเรียนหนองกุงพิทยาคม. (2564b). รายงานผลการสอบ O-NET ปีการศึกษา 2562-2564. ขอนแก่น: โรงเรียนหนองกุงวิทยาคม.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สายใจ ทองเนียม. (2560). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อภิเชษฐ์ ขาวเผือก. (2559). การพัฒนาเกมการศึกษาบนแท็บเล็ตโดยใช้เทคนิคช่วยจำเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 9(2), 1416-1431.
อินทิรา ศรีประสิทธิ์. (2552). ทฤษฎีใหม่ในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับคนไทยที่รวมการวางพื้นฐานด้วย Phonetic awareness & Phonics ตามด้วยการสอนอ่านเป็นคำ (Whole language) เพื่อแก้ปัญหาอาการภาษาอังกฤษบกพร่อง (Dyslexia) ของคนไทย. ใน เอกสารการอบรมครูในสภาพแวดล้อมที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ วันที่ 14-26 มีนาคม 2552 กรุงเทพฯ: UNESCO-APEID.
Bloomfield, L., and Barnhart, C. L. (1961). Let’s read: A linguistic approach. Detroit, MI: Wayne State University Press.
Gardner, Howord. (1993). Multiple Intelligence: The Theory in Practice. New York: Basic Books.
Gelzheiser, Lynn M. and Clark, Diana Brewster. (1999). Early Reading and Instruction. Learning about Learning Disabilities. Edited by Wong, Bernice Y. L. Simon Fraser University: Faculty of Education.
Hughes, M. (1972). Phonics and The Teaching of Reading. London: Evans Brothers.
Weaver, C. (1994). Reading Process and practice: From socio psycholinguistic to whole language. Port mouth. NH.