การวิเคราะห์คุณภาพและความพึงพอใจของผู้ประกอบการร้านอาหารในการเลือกใช้ ฟู้ดเดลิเวอรี่เเพลตฟอร์มในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ภาณุมาศ วรรณศิริ
สุรมงคล นิ่มจิตต์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเลือกใช้ธุรกิจขนส่งอาหารของผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพและความพึงพอใจการให้บริการธุรกิจขนส่งอาหารในมุมมองของผู้ประกอบการ และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจขนส่งอาหารของผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  การศึกษานี้ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) และการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เลือกใช้บริการธุรกิจขนส่งอาหาร foodpanda, LINEMAN และ Grab Food จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกใช้บริการธุรกิจขนส่งอาหาร LINE MAN จาก     การประเมินคุณภาพการให้บริการ พบว่า LINE MAN มีคุณภาพการให้บริการดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง    ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความน่าเชื่อถือในการให้บริการ และด้านการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ส่วนความพึงพอใจของผู้ประกอบการ พบว่า LINE MAN ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความสามารถในการเสียค่าใช้จ่าย ด้านอัธยาศัยความสนใจของผู้ให้บริการ ด้านความสะดวก      ที่ได้รับจากการบริการ ด้านการประสานงาน และด้านข้อมูลที่ได้รับจากการบริการ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณภาพการให้บริการของธุรกิจขนส่งอาหาร และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจขนส่งอาหารของผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ณพวิทย์ วชิราปัญญานนท์. (2560). ปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคาร์แคร์ (Car Care) ของประชากรในเขตบางขุนเทียน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).

นุช สิงห์แก้ว. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ปิยากร พรพีรวิชญ์, เปมิกา พันธุ์สุมา และ พิจักษณ์ วราเสนีย์วุฒิ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการใช้บริการ แอปพลิเคชันของฟูดแพนด้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 29-42.

พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ. Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วชลิตา ชนะวีรวรรณ. (2561). อิทธิพลของคุณภาพการบริการ และการรับรู้คุณค่าที่มีต่อความพึงพอใจในการใช้บริการส่งพัสดุด่วน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). การแข่งขันของแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food Delivery เติมโตต่อเนื่อง คาดมีมูลค่าสูงถึง 33,000 – 35,000 ล้านบาท ในปี 2562 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2995). สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2565, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z2995.aspx

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) (2563), ETDA เผย คน Gen -Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2565, จาก ETDA. https://www.etda.or.th/th/https/www-etda-or-th/th/newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020.aspx

Workpoint News. (2562). การแข่งขันแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food Delivery มูลค่าสูง 3.5 หมื่นล้าน. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก https://workpointtoday.com/kasikorn-food-delivery/