การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Motion Graphic On Demand รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Motion Graphic On Demand รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ดังนี้ เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Motion Graphic On demandฯ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (Post-test) และก่อนเรียน (Pre-test) จากการเรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Motion Graphic On demand ฯ วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 93 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ห้อง 1 สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบอย่างง่าย ด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Motion Graphic On demandฯ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สถิติทดสอบค่าที แบบหนึ่งกลุ่มสัมพันธ์กัน (ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน)
ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Motion Graphic On demand รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ฯ มีประสิทธิภาพสื่อ มีค่าเท่ากับ 83.69/82.26 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Post-test) สูงกว่าก่อนเรียน (Pre-test หลังจากเรียนรู้ด้วยสื่อรูปแบบ Motion Graphic On Demand) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชยุดา รัตนะชัย. (2561). กระบวนการผลิตและเลือกใช้อินโฟกราฟิก (infographic): กรณีศึกษา เพจเฟซบุ๊ก Infographic Thailand. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภัสวนต์ ปิ่นแก้ว และวัตสาตรี ดิถียนต์. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ระหว่างอินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งและสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหวเรื่องวันสำคัญทางพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (ปริญยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วรรณทิภา ธรรมโชติ. (2562). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ, 5(2), 37-47.
สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.