รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วีรวัฒน์ คำแสนพันธ์
ธวัชชัย ไพใหล
ไชยา ภาวะบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา   2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธี  การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการองค์การนักศึกษา จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ใน     การเก็บข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม เพื่อสำรวจภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินรูปแบบ


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. องค์ประกอบภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 10 องค์ประกอบ 78 ตัวบ่งชี้

  2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา4) กระบวนการ 5) สื่อการเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผ

  3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับ   มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิกนันต์ กล้าหาญ. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

กฤษกนก ดวงชาทม (การสื่อสารส่วนบุคคล, 11 ธันวาคม 2564).

กองกลาง สำนักงานอธิการบดี. (2561). คู่มือการดำเนินงานงานพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2565, จาก https://sdd.cmru.ac.th/web65/act_manual.php

คณิศร จี้กระโทก (การสื่อสารส่วนบุคคล, 22 พฤศจิกายน 2564).

จักราวุธ สิทธิพรมมา (การสื่อสารส่วนบุคคล, 25 พฤศจิกายน 2564).

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย (Contemporary Leadership). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน ลาดพร้าว.

ธีราธาร ศรีมหา (การสื่อสารส่วนบุคคล, 15 พฤศจิกายน 2564).

แผนพัฒนานักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2562). คู่มือมาตรฐานกิจการนักศึกษา พ.ศ 2562-2566. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2565). คู่มือมาตรฐานกิจการนักศึกษา พ.ศ 2562-2566. สกลนคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รมย์รัมภา ณัฐธัญอติรุจ. (2561). แนวทางการบริหารกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติยา พร้อมสิ้น. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รัษฎากร อัครจันทร์. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). กองพัฒนานักศึกษา. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565, จาก https://www.krisdika.go.th/

Chiok Foong Loke, J. (2001). Leadership behaviours: effects on job satisfaction, productivity and organizational commitment. Journal of nursing management, 9(4), 191-204.

Daft, L. (2014). The Leadership Experience. (2 nd ed). Fort Worth, Texas: Harcourt College.

Dessler, G., Starke, F. A., and Cyr, D. J. (2001). Management: Leading people and organizations in the 21st century. Upper Saddle River, NewJersey: Prentice Hall.

Eisner, E. W. (2003). RESHAPING ASSESSMENT IN EDUCATION. Curriculum Studies: Boundaries: subjects, assessment, and evaluation, 4(3), 242.

Keeves, J. P. (2002). Learning in schools: A modelling approach. International education journal, 3(2), 115-138.