การรักษาความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจร้านอาหารประเภทอาหารพื้นบ้านขนาดกลางในอำเภอเมืองนครราชสีมา ในบริบทของการปรับตัวทางธุรกิจ ในยุคความปกติใหม่

Main Article Content

ปิยะดา ทองศรี
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการรักษาความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารประเภทอาหารพื้นบ้านขนาดกลาง ในบริบทของการปรับตัวทางธุรกิจในยุคความปกติใหม่ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านอาหารพื้นบ้านขนาดกลางในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมาเป็นประจำ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัย   ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ปัจจัยด้านความสามารถทางการแข่งขัน กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทาง การแข่งขัน และระดับความสามารถทาง การแข่งขัน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .920  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อความสามารถทางการแข่งขัน ของผู้ประกอบการร้านอาหารพื้นบ้านขนาดกลาง มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากรหรือพนักงาน และด้านกระบวนการ สำหรับปัจจัยด้านความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการด้านความมีนวัตกรรม และด้านการแข่งขันเชิงรุกมีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการร้านอาหารพื้นบ้านขนาดกลาง และยังพบว่ากลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านการมุ่งตลาดเฉพาะส่วน มีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการมากที่สุด รองลงมา คือ การสร้างความแตกต่างการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และการเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน ตามลำดับ ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านอาหารพื้นบ้านขนาดกลางควรมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายให้ชัดเจนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าควรสร้างบรรยากาศให้เกิดความประทับใจในการมาใช้บริการ มีความแตกต่างและโดดเด่นจากร้านอาหารอื่น สำหรับในด้านผลิตภัณฑ์ควรมีการพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายหลัก นอกจากนี้ควรมีการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกในการสั่งอาหาร และควรหาวิธีการที่สร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพื่อลดการสัมผัสในการใช้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2564). รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2565). ประเภทของร้านอาหาร. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://www.dbd.go.th/search_result.php?keyword/ร้านอาหาร

กิตติกร เรืองขำ, ยุวเรศ มาซอรี และ กิตติกาญจน์ กาญจนะคูหะ. (2565). กลยุทธ์การปรับตัวโดยใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภายใต้สถานการณ์ Covid 19 ธุรกิจร้านอาหารริบส์แมน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 748-760.

จังหวัดนครราชสีมา. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2561 - 2565 ฉบับทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://www2.nakhonratchasima.go.th/ebook_strategy

ดวงตา อ่อนเวียง, ทตมัล แสงสว่าง, รัชดา ภักดียิ่ง และ ร่มสน นิลพงษ์. (2562). กลยุทธ์ที่สัมฤทธิ์ผลของการประกอบการร้านอาหารถาวรขนาด เล็กในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 688-699.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และ โชติ บดีรัฐ. (2563). “New Normal” วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.

นงชนก สถานานนท์ และฐานิส สุดโต. (2564). เมื่อมีโควิด-19 ระลอกใหม่ ‘ธุรกิจร้านอาหาร’ ต้องรับมือและปรับตัวอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://thestandard.co/covid-19-outbreak-how-businesses-cope-and-adapt/

นงเยาว์ อินทะนาม, อำภาศรี พ่อค้า และ กรกนก ดลโสภณ. (2563). การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(4), 82-95.

นิตยา สุภาภรณ์. (2564). ความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 43-52.

บีบีซี. (2564). โควิด-19: แต่ละจังหวัดสกัดโควิดอย่างไร ก่อนประชุม ศบค. ถกยกระดับมาตรการ 6 จังหวัด “แดงเข้ม”. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-56898299

พรรษวรรณ สุขสมวัฒน์. (2565). ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกลยุทธ์ทางรอดของธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 163-172.

ภูวนารถ ถาวรศิริ และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจน้ำดื่มท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2171-2187.

วรรณษา แสนลำ และ นัฎฐา มณฑล. (2560). อาหารพื้นเมืองเพื่อสุขภาวะที่ดี ชุมชนตำบลตลาด จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(6), 445-457.

วสุธิดา นักเกษม และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2148-2167.

สุดใจ ผ่องแผ้ว และ นุจรี ภาคาสัตย์. (2559). รูปแบบความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ OTOP ที่เป็น SMEs ในประเทศไทย. Veridian E-Journal Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3), 1659-1675.

อัญธิกา แก้วศิริ และ ปะราสี เอนก. (2560) .ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 1(2), 19-26.

Andrews, S. (2563). โคราช ประตูสู่ภาคอีสาน. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2565, จาก http://hackpotsdam.com/โคราช-ประตูสู่ภาคอีสาน/

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Dess, G. G., Lumpkin, G. T., and Taylor, M. L. (2005). Strategic Management: Creating Competitive Advantage (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., and Keller, K. L. (2016). Marketing Management (15th Global ed.). Edinburgh: Pearson Education.

Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. Harvard Business Review, 68(2), 73-93.

PPTV Online. (2565). เมืองโคราช ศก. ทรุดหนัก โรงแรม-ห้างฯ แห่ปิดป้ายขาย ไร้นักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565, จาก https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/187182