การประเมินความต้องการจำเป็นและในแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

Main Article Content

ทิพกัญญา ไชยปัญหา
วาโร เพ็งสวัสดิ์
อภิสิทธิ์ สมศรีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นและในแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูในโรงเรียน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำครูในโรงเรียน 3) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียน และ 4) หาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 327 คน โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสภาพปัจจุบันมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.36 ถึง 0.87 และค่าความเชื่อมั่น 0.98       ส่วนด้านสภาพที่ควรจะเป็น มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.50 ถึง 0.87 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified)


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำครู มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนา (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ (4) การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู โดยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับภาวะผู้นำครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  3) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำครู พบว่ามีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการพัฒนาหลักสูตร เป็นลำดับแรก รองลงมาคือด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4) แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาภาวะผู้นำครู มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). คลังพัฒนา.

กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2550). เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ พิธีเปิดการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ”. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กิตติพัฒน์ คำแพง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของครูกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ThaiLIS. https://shorturl.asia/dQhUl

จารุภัทร บุญส่ง. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางการสอนของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ThaiLIS. https://shorturl.asia/SYIkA

ฐิติมา ไชยมหา. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ThaiLIS. https://shorturl.asia/vFHUI

ประภาดา คนคล่อง. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนอนุบาลคำชะอี[วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. E-ThesisSNRU. https://shorturl.asia/rZ2Jd

เยาวลักษณ์ สุตะโคตร. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาล: กรณีสำนักงานเทศบาลเมืองมุกดาหาร[วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ThaiLIS. https://shorturl.asia/Db4nQ

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. สุวีริยาสาส์น.

ศิริพร กุลสานต์. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต] มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ThaiLIS. https://shorturl.asia/FpBta

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ThaiLIS. https://shorturl.asia/nPFaE

Avolio, B.J. (1999). Full Leadership Development. SAGE Publication.

Drucker, P.E. (1968). Your Leadership is Unique. Leadership, 17(4), 54. Goodson, I. and Hargreaves, A. (2005). Series editors’ preface. In A. Harris ve D. Muijs.Improving schools through teacher leadership. Open University Press.

Lieberman, A. and Miller, L. (2004). Teacher Leadership. San Francisco: Jossey-Bass.

Overholser, J. (1992). Socrates the in classroom. College Teaching.

Ronald W. Rebore and Angela L.E. Walmsley. (2008). An Evidence-Based Approach to The Prctice of Educational Leadership. Allyn and Bacon.

Rowan, B.,Correnti, R., and Miller, R., (2002). What large-scale, survey research tells us about teacher effect on student achievement: insights from the prospects study of elementary schools. Teachers College Record, 104(8), 1525-1567.