การพัฒนาระบบประเมินการจัดการเรียนการสอนของบุคลากรสายวิชาการ ผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จารุกิตติ์ สายสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบประเมินการจัดการเรียนการสอนของบุคลากรสายวิชาการผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบประเมินการจัดการเรียนการสอนของบุคลากรสายวิชาการผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบประเมินการจัดการเรียน    การสอนของบุคลากรสายวิชาการผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาระบบตามกระบวนการพัฒนาระบบ SDLC กลุ่มเป้าหมายในการประเมินประสิทธิภาพระบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการวิจัย คือ ระบบประเมินการจัดการเรียนการสอนของบุคลากรสายวิชาการผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น แบบประเมินประสิทธิภาพระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบประเมินการจัดการเรียนการสอนของบุคลากรสายวิชาการผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริง นักศึกษาและบุคลากรสายวิชาการหรืออาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเข้าถึงนำข้อมูล การประเมินการจัดการเรียนการสอน ในภาคเรียนได้ตรงตามความต้องการ ซึ่งระบบดังกล่าวแบ่งระดับสิทธิ์ การใช้งานออกเป็น 3 ระดับสิทธิ์ ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ โดยในระบบประกอบด้วย 7 ส่วนหลัก ได้แก่ ระบบยืนยันตัวตนผู้สอน ระบบยืนยันตัวตนผู้เรียน ระบบประเมินการจัดการสอนโดยนักศึกษา ระบบแสดงผลการประเมินการจัดการสอน ระบบแสดงรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียน ระบบรายงานข้อมูลการประเมินผล และระบบพิมพ์รายงานผลการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน 2) ประสิทธิภาพการทำงานของระบบจากผู้เชี่ยวชาญมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.82, S.D. = 0.31) และ 3) ความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบ ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.75, S.D. = 0.15)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ภักดีวัฒนะกุลและจำลอง ครูอุตสาหะ. (2544ก). วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบฐานข้อมูล(Database Life Cycle :DBLC). กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุลและจำลอง ครูอุตสาหะ. (2544ข) : การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development). กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์ แอนด์คอนซัลท์.

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2563). ระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาแบบ 360 องศา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 7(2), 59-71.

จาวาสคริปต์. (2562). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จาวาสคริปต์

ชาลี วรกุลพิพัฒน์ และ เทพฤทธิ์ บัณฑิตวัฒนาวงศ์. (2544). วิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุโดยใช้ยูเอ็มแอล (Unified Modeling Language : UML). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฐานข้อมูล PHP My Admin. (2562). สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565, จาก https://www.aosoft.co.th/ article/310/phpMyAdmin-คืออะไรA3.html

ธีรพล ด่านวิริยะกุล. (2549). ระบบการจองห้องพักผ่านเว็บเซอร์วิส กรณีศึกษาโลลิต้า บังกะโลเกาะสมุย. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

แผนพัฒนาความเป็นเลิศแผนการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2567 – 2571. (2565). สำนักแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ภาษาพีเอชพี. (2562). สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาพีเอชพี

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2563). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 34-53.

เว็บแอพพลิเคชั่น. (2562). สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://mdsoft.co.th/ความรู้/359- web-application.html

ศุภชัย ชัยประเสริฐ, เพ็ญศรี อมรศิลปชัย และปฐมาภรณ์ เถาว์พัน. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานกิจกรรมนักศึกษาผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตแห่งชาติ ครั้งที่ 47, วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2561. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,1155-1166.

Stair. (1996). System development life cycle : SDLC. สืบค้น เมื่อ 25 ตุลาคม 2562, จาก http://pstudiodev.blogspot.com/2012/04/sdlc-symtemdevelopment-life-cycle.html.