การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม เรื่อง น้ำ และอากาศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดรัตนวราราม จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดรัตนวราราม หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม เรื่องน้ำและอากาศ 2) ศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดรัตนวราราม หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม เรื่องน้ำและอากาศ และ 3) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมที่พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดรัตนวราราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ และใบกิจกรรม ดำเนินการวิจัย 4 วงจรปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม มีพัฒนาการสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน โดยนักเรียน จำนวน 10 คน คิดเป็น ร้อยละ 47.62 มีระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับดีเยี่ยม เปรียบเทียบกับก่อนเรียนที่นักเรียนส่วนใหญ่ จำนวน 15 คน คิดเป็น ร้อยละ 71.43 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับไม่ผ่าน 2) นักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับสูงทุกด้าน และ 3) แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม คือ (1) การใช้คำถามนำทางตามระดับการคิดในแต่ละขั้นตอน การสอน ทำให้นักเรียนมีการระดมสมอง ดึงประสบการณ์หรือความรู้เดิม จำแนกข้อมูลสำคัญ เชื่อมโยงและ หาความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ได้ และ (2) การสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อม การลงมือปฏิบัติแบบสืบเสาะและการรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่จริงทำให้นักเรียนกระตือรือร้นและเกิดแรงจูงใจในการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญชนก ซ้ายสุวรรณ. (2563). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง รักษ์โลก รักทรัพยากร โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ร่วมกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(76), 221-229.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์, นวลจิตต์ เชากีรติพงศ์, ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ และ ไสว ฟักขาว. (2557). การคิดวิเคราะห์ สอนและสร้างอย่างไร (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วัชรา เล่าเรียนดี (2560). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Akcay, B. and Akcay, H. (2015). Effectiveness of Science-Technology-Society (STS) Instruction on Student Understanding of the Nature of Science and Attitudes toward Science. International Journal of Education in Mathematics, Science and Technology, 3(1), 37-45.
Bloom Benjamin S., et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David Mckay Company.
Chowdhury. M.A. (2016). “The Integration of Science-Technology- Society/Science-Technology-Society-Environment and Socio-Scientific-Issues for Effective Science Education and Science Teaching. Electronic Journal of Science Education, 20(5), 19-38.
Kagan, S. (1994). Cooperative learning: Resources for teach. New York: Harwert, Brace and Word.
Kemmis, S and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rded). Victoria: Deakin University.
Tarntip Chantaranima. (2014). The Outcomes of Teaching and Learning About Sound Based on Science Technology and Society (STS) Approach. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 116(2014), 2286 – 2292.
Yuenyong, C. (2006). Teaching and learning About Energy: Using Science, Technology and Society (STS) Approach. (Doctor of Philosophy in Science Education, Kasetsart University).