การพัฒนาบทเรียนโปรแกรมผ่านอีเลิร์นนิงโดยใช้เทคนิคไมโครเลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องความปลอดภัยในการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนโปรแกรมผ่านระบบอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคไมโครเลิร์นนิง เรื่องความปลอดภัยในการใช้เครื่องตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังโดยใช้บทเรียนโปรแกรม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ที่เรียนผ่านบทเรียนโปรแกรมผ่านระบบอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคไมโครเลิร์นนิง กลุ่มเป้าหมาย คือ อาสาสมัครบุคลากรทางการแพทย์ ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานในหน่วยตรวจเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจำนวน 50 คน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน เครื่องมือวิจัย คือ บทเรียนโปรแกรม แบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ คุณภาพของเครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าเท่ากับ 1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบหนึ่งกลุ่มสัมพันธ์กัน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) บทเรียนโปรแกรมที่พัฒนาโดยใช้เทคนิคไมโครเลิร์นนิงและผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนโปรแกรมในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ในการเรียนรู้อยู่ระดับสูงมากที่ร้อยละ 60 ของอาสาสมัครทั้งหมด (2) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้การใช้บทเรียนโปรแกรมที่สร้างโดยใช้เทคนิคไมโครเลิร์นนิง ค่าเฉลี่ยของคะแนนการเรียนรู้หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (3) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมของบทเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลพัทธ์ ใจเยือกเย็น. (2564). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 14(2), 197-212.
จักรพงษ์ แผ่นทอง. (2562, 24 มีนาคม). KR-20 ค่าความเชื่อมั่นที่หาได้จาก excel. https://krujakkrapong.com/kr-20-
ชัยศาสตร์ คเชนทร์สุวรรณ. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพันธุกรรมด้วยไมโครเลิร์นนิงสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 12(2), 137-147.
ซูไฮลา เกาะแน, โรซวรรณา เซพโฆลาม, และ ลุตฟียะห์ แซะเซ็ง. (2565). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานบนโลกของเราที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภายใต้สถานการณ์โควิด-19. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 17(1),14-25. http://doi.org/10.14456/nrru-rdi2023.2
ดลพร ใบบัว, ไพฑููรย์ ศรีฟ้า และ สููติเทพ ศิริพิพัฒนกุุล. (2565). การพัฒนาสื่อโมชั่นกราฟิกตามแนวคิด ไมโครเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), 127-140.
ทวียาพรรณ สุภามณี, วิภาดา คุณาวิกติกุล, และ ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา. (2559). การปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน. พยาบาลสาร, 41[ฉบับพิเศษ], 48-58.
น้ำฝน คูเจริญไพศาล. (2560). ผลการเรียนรู้เรื่องเคมีพอลิเมอร์ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปร่วมกับการเขียนผังมโนทัศน์. วารสารศิลปากร, 37(3), 87-108.
นิภาวรรณ จัยสิน, ศุภวรรณ์ เล็กวิไล, และ ประเสริฐ แซ่เอี๊ยบ. (2565). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียร่วมกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์. Modern Learning Development, 8(1), 66-82.
ปฐมพงศ์ พลหาญ. (2561, 28 สิงหาคม). แนวทางความปลอดภัยการใช้เครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง (MRI Safety) [เอกสารประกอบการฝึกอบรม]. ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.
ปัทมา ยิ้มสกุล. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี โดยการใช้วิธี Micro Teaching และการจัดการเรียนรู้แบบActive Learning. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(2), 11-21.
พนธกร สุขประเสริฐ, สิทธิกร สุมาลี, และ อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิงสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก. จันทรเกษมสาร, 28(1), 62-77.
พรพิชิต สุวรรณศิริ, รติรส แมลงภู่ทอง, และ ผุสดี ศิริวัฒนา. (2563). ผลของการใช้บทเรียนช่วยสอน เรื่องภาวะความดันเลือดตกและการช่วยชีวิตต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนจ่า พรรคพิเศษ เหล่าทหารแพทย์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 7(1), 97-110.
ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). ตักสิลาการพิมพ์.
ภาสกร สวนเรือง และ อุทุมพร วงษ์ศิลป์. (2565). สัดส่วนเวลาปฏิบัติงานของแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาล ภาครัฐ กรณีศึกษา 8 โรงพยาบาล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 13(4), 428-441.
American College of Radiology. (2020, January 4). ACR Manual on MR Safety version 1.0. https://www.acr.org/-/media/ACR/Files/Radiology-Safety/MR-Safety/Manual-on-MR-Safety.pdf
Kihlberg, J. , Hansson, B., Hall, A., Tisell, A., & Lundberg, P. (2022). Magnetic Resonance Imaging Incidents are Severely Underreported: A Finding in a Multicenter Interview Survey. European Radiology, 32(1), 477-488. https://doi.org/10.1007/s00330-021-08160-w
Sood, M. (2018, January 28). Man Dies after Oxygen Cylinder Sucked into MRI Machine at Mumbai Hospital, 3 Arrested. Hindustan Times. https://www.hindustantimes.com/
mumbai-news/man-gets-crushed-to-death-after-mri-machine-sucks-oxygen-cylinder-in-at-mumbai-hospital/story-iKP8s3l0b8Q2O64JFqHghI.html.