กฎหมายรองรับการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของ ต่างประเทศ และประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการศึกษาพบว่า การประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีลักษณะเฉพาะ โดยทำหน้าที่ในการคอยดูแลปกป้องผลประโยชน์ให้แก่ตัวการ ในขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ในการเจรจาเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ในวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ลงตัว จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลว รวมถึงการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและทำประโยชน์ให้แก่สังคม แม้ว่าในปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 16 ได้บัญญัติเรื่องนายหน้าไว้ในมาตรา 845 – 849 ประกอบด้วยสัญญานายหน้า ค่าบำเหน็จ ความรับผิด และสิทธิบางประการของนายหน้า ซึ่งครอบคลุมถึงนายหน้าทุกประเภท แต่ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้เป็นการเฉพาะ นอกจากนั้นพบว่ายังขาดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ การขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต ขอบเขตของบทบาทหน้าที่ การทำหน้าที่ภายใต้หลักคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการควบคุมโดยคณะกรรมการ และบทกำหนดโทษหากฝ่าฝืนและกระทำความผิดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ส่งผลให้ขาดมาตรฐานของวิชาชีพและไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ดังนั้น จึงเสนอให้มีกฎหมายเฉพาะรองรับการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้ (1) คำนิยาม (2) คุณสมบัติของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (3) การจดทะเบียนและขอใบอนุญาต (4) หน้าที่ของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (5) จรรยาบรรณของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (6) คณะกรรมการนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (7) บทกำหนดโทษ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โชต อัศวลาภสกุล. (2564). แนวคิดพิพากษาฎีกา ทรัพย์ ทรัพย์สิน. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดวนิดาการพิมพ์.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2562). กฎหมายเบื้องต้นทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บัญญัติ สุชีวะ. (2559). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์สิน. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
รุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์. (2559). การวางแผนองค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้านการเลือกทำเลที่ตั้งหมู่บ้านจัดสรรโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ศักดา ธนิตกุล. (2559). กฎหมายกับธุรกิจ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2566). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=567410&ext=pdf
โสภณ พรโชคชัย. (2559). การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย. กรุงเทพฯ: ส.วีรัชการพิมพ์ (1996).
อัศวิทย์ อินทร์น้อย. (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(1), 215-226.
Marona, B., & Tomal, M. (2020). The COVID-19 pandemic impact upon housing brokers’ workflow and their clients’ attitude: Real estate market in Krakow. Entrepreneurial Business and Economics Review, 8(4), 221-232. https://doi.org/10.15678/EBER.2020.080412
Nguyen Minh Ngoc. (2020). Opportunities and challenges for real estate brokers in post Covid-19 period. International Journal of Multidisciplinary Research and Growth Evaluation. 1(5). 81-87.