การฝึกแปรงฟันโดยใช้ภาพนิทานสำหรับนักเรียนที่มีภาวะออทิซึม

Main Article Content

เจริญขวัญ ศรีพันธ์ชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในแปรงฟันของนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมและเปรียบเทียบทักษะการแปรงฟันของนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมก่อนและหลังการใช้ภาพนิทาน กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมจำนวน 3  คน อายุระหว่าง 7 - 8 ขวบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)  ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองและการศึกษารายกรณี (Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการฝึกการแปรงฟันสำหรับนักเรียนที่มีภาวะออทิซึม จำนวน  6 แผน 2) หนังสือภาพนิทาน 3 เล่ม เรื่อง หนูชอบแปรงฟัน  ผมแปรงฟันด้วยตัวเอง และผมแปรงฟันทุกวัน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการแปรงฟันของนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมโดยฝึกกิจกรรมการแปรงฟัน ทั้งหมด 12 สัปดาห์ บันทึกข้อมูลหลังการสอนและสรุปผลการกิจกรรมการแปรงฟันโดยใช้นิทานภาพการแปรงฟันแต่ละทุกชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละและการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1.ความสามารถในการแปรงฟันโดยใช้ภาพนิทานของนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมทั้ง 3 คน พบว่า นักเรียนที่มีภาวะออทิซึมมีคะแนนที่สูงขึ้นหลังการทดลอง
2. ผลคะแนนเปรียบเทียบความสามารถในการแปรงฟันของนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมก่อนและหลังการใช้ภาพนิทานหลังการทดลองสูงขึ้น ดังนี้ นักเรียนคนที่ 1 ร้อยละ (38.33/71.66) นักเรียนคนที่ 2 ร้อยละ (45.00/80.00) นักเรียนคนที่ 3 ร้อยละ (60.00/91.66) ดังนั้นภาพนิทานสามารถส่งเสริมความสามารถในการแปรงฟันของนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมเพิ่มขึ้นทุกคน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญขวัญ ศรีพันธ์ชาติ. (2561). การศึกษาผลการใช้ชุดฝึกกิจวัตรประจำวันของนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมด้วยหลักการวิเคราะห์งาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,11(1), 113-123.

เจริญขวัญ ศรีพันธ์ชาติ. (2566). การส่งเสริมให้เด็กออทิสติกฝึกกิจวัตรประจำวัน. วารสารครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 17(1), 72–83.

ณัฐวุฒิ แก้วสุธา, อังศินันท์ อินทรกำแหง และ พัชรี ดวงจันทร์. (2556). ปัจจัยที่ทำให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากพฤติกรรมของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 19(2), 153 -163.

ปารรถนา รัตนถิรวรรณ, จารุพัชร์ ฉลาดแพทย์ และ จันทรา พีระขจร. (2565). สื่อวิเศษ เพื่อเด็กพิเศษ รายงานการประเมินผลการใช้นิทานของผู้ปกครองและครูปฐมวัยต่อพัฒนาการของเด็กออทิสติก. วารสารราชานุกูล, 34(2), 59 – 68.

ยุวดี แก้วกันหา และ อรทัย อนุรักษ์วัฒนะ. (22 กุมภาพันธ์ 2564). การส่งเสริมความมีวินัยในตนเองโดยกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพ [เอกสารนำเสนอ]. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ครั้งที่1, กำแพงเพชร, ประเทศไทย.

สุนิสา วงศ์อารีย์. (2559). จิตวิทยาสำหรับครู(เอกสารประกอบการสอน). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สมพร หวานเสร็จ. (2552). การพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก โดยใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง. คลังนานาวิทยา.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2556). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ระดับประเทศ ครั้งที่7 พ.ศ. 2555. สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ.

อัชฌา เอี่ยมอธิคม. (2558). ประสบการณ์การดูแลทันตสุขภาพเด็กออทิสติกของผู้ดูแล. วิทยสารทันตสาธารณสุข, 20(1), 81- 88.

อารี พาวัฒนา และคณะ. (2564). การศึกษาการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 เรื่อง จำนวนที่มากกว่า 1,000 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดและวิธีการศึกษาชั้นเรียน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(3), 301–316.