แนวทางการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

อรพิน ดำมินเสก
พิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานเชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นครู 145 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยเลือกประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง (Total Sampling Population) ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพนัสพิทยาคาร สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดเรียงลำดับของความต้องการจำเป็น (PNI) ซึ่งค่า PNI จากการวิเคราะห์นั้นได้นำมาพัฒนาเป็นแนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้บริหารของโรงเรียน 5 ท่าน จากนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบจับประเด็น (Thematic Content Analysis) เพื่อให้ได้แนวทางการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผลการวิจัยพบว่าความต้องการจำเป็นของแนวทางการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีค่าดัชนีอยู่ในระดับสูงกว่า 0.33 ทุกด้าน เรียงลำดับดังนี้ 1) ด้านการส่งต่อนักเรียน 2) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 3) ด้านการคัดกรองนักเรียน 4) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และ 5) ด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของนักเรียน และในส่วนที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี ทั้ง 5 ท่าน พบว่าควรให้ความสำคัญในการพัฒนาประกอบแนวทางก่อนหลังดังนี้ 1) การส่งต่อนักเรียน มีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง 2) การคัดกรองนักเรียน มีแนวทางการส่งเสริม 3 แนวทาง 3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน มีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง 4) การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของนักเรียน มีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง และ 5) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง ทั้งนี้คาดหวังว่าผู้บริหารสามารถนำแนวทางของการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ได้รับจากข้อค้นพบในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญเนตร มูลทองจาด และ นุชนรา รัตนศิระประภา. (2564). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐริณีย์ น้อยจันทร์, สุขแก้ว คำสอน, และ อดุลย์ วังศรีคูณ. (2565). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ธัญมาศ นิยมญาติ และ สมใจ สืบเสาะ. (2565). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

พรวิมล กลิ่นศรีสุข และ มานิตย์ อาษานอก. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(10), 147-157.

พันธ์เพ็ญ โพธิ์ใบ. (2565). การพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราชโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์], วิทยาการอาชีพนครศรีธรรมราช.

ไพบูลย์ เด่นสว่าง, พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์, และ มิตภาณี พุ่มกล่อม. (2564). แนวทางการดำเนินงาน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

มนตรี สังข์ชุม. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านระบบฐานข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ของโรงเรียนอนุบาลระนอง. วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, 5(1), 17-33.

มาดีน้า อินทมี และ วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2563). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

รัชพล เที่ยงดี. (2563). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมตึกษา เขต 18. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ฤทธิ์ธิชัย ภู่สำอางค์, นริสานันท์ แมนผดุง, และปฤษณา ชนะวรรษ. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมพงษ์ บุรณะสุทธิ์. (2564, 2 มีนาคม). รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. ครูบ้านนอก.คอม. https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=176583

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุนีย์ สอนตระกูล, สมโภชน์ อเนกสุข, และ รสริน พิมลบรรยงค์. (2565). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดดอนยอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

Belanger, M. B. (2018). First-year teachers Perceptions of the mentoring component of the new teacher Induction Progra. [Doctoral dissertation, University of South Carolina]. https://scholarcommons.sc.edu/etd/4464

Biddle, V.S. (2009). Student Assistance Program Outcomes of Students at Risk for Suicide. Dissertation Abstracts International: Section B: The Sciences and Engineering, 69, 4662.

Laverne, M. (2000). Coalitions between schools and community agencies for the control of truancy: Identification of critical factors contributing to coalition effectiveness. https://researchworks.laverne.edu/esploro/outputs/doctoral/Coalitions-between-schools-and-community-agencies/991004155704306311

Smith, J. R. (2017). Student perceptions of teacher care: Experiences and voices of recent high schoolgraduates [Doctoral dissertation, Lowa State University]. https://lib.dr.iastate.edu/etd/15425/

Watson-Davis, D. (2010). Teacher’s understanding, perceptions, and experiences of students in foster care: A forgotten population (Order No. 3399119). [Doctoral dissertation, The Claremont Graduate University]. ProQuest Dissertations and Theses Global.

Wongwanich, S. (2015). Research needs assessment (3rd ed.), Chulalongkorn University Press.