ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการงานกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

รุ่งนภา กิตติลาภ
กฤษณะ มูลมี
ภิรมย์ อั๋นประเสริฐ
ชลัช ภิรมย์
ศิวาพร กิตติลาภ
กัลยา ใหม่โพธิ์กลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการงานกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการงานกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการงานกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรายกลุ่ม ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่งานกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 212 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (Two-ways MANOVA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการงานกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่จะมีการบริหารบุคลากร รองลงมาเป็นการวางแผน และการจัดองค์การ ทรัพยากรการบริหารหลักส่วนใหญ่ คือ ทรัพยากรบุคคล รองลงมาเป็นการจัดการ การเงินและงบประมาณ ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการงานกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น คือการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก รองลงมาเป็นการจัดสรรทรัพยากร การควบคุมกระบวนการดำเนินงาน  และการบริหารทรัพยากรบุคคล     ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการงานกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ผู้บริหารที่มีระดับอายุต่างกันจะมีการบริหารงานกีฬาที่ต่างกัน หน่วยงานที่สังกัดต่างกันจะมีการบริหารงานกีฬาที่ต่างกัน และหน้าที่การบริหารตามหน่วยงานที่สังกัดต่างกันจะมีปัจจัยการบริหารงานกีฬาที่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กณวรรธน์ ลาขุมเหล็ก. (2564). สภาพและแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย. (2563). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด. กระทรวงมหาดไทย.

ชีวิน อ่อนลออ และคณะ.(2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 10(2),161-169.

ทินกร ชอัมพงษ์.(2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกีฬาแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์]. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/issue/download/17122/4375.

นิยม ดวงมณี.(2558). แนวทางการบริการจัดการศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติลาว. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://webopac.lib.buu.ac.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00227367.

ปัณณทัต นอขุนทด.(2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. https://eng.sut.ac.th/ce/ce_course/download/project/7-1-55/9PANNATHAD%20NOKHUNTHOD.pdf

แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (2560-2564). เเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

พงษ์เอก สุขใส และคณะ. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4),104-115.

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2560-2563. เทศบาลนครขอนแก่น.

สินีนาฎ นาสีแสน และคณะ. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4).1-15.

วีระศักดิ์ ไว้วาง และคณะ. (2561). กระบวนการส่งเสริมกีฬาเพื่อมวลชนสำหรับเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่องจังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่]. http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1881.