การจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Edulearn) ร่วมกับ E-Board Game เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่องระบบหายใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้จากแบบวัดการคิดวิเคราะห์ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ บนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Edulearn) ร่วมกับ E-board game ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 131 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้อง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 38 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แผนละ 50 นาที แบบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยอาศัยกรอบแนวคิดของ Bloom B.S. (1956) นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วย การพิจารณาความสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด 6.53 (S.D.= 1.03) รองลงมาคือ การจำแนกส่วนประกอบ มีค่าเฉลี่ย 4.89 (S.D.= 0.99) การพิจารณาข้อสรุป มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 (S.D.= 0.82) และ 2) ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ด้านเนื้อหา ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่า เนื้อหามีความทันสมัย กระตุ้นให้อยากค้นคว้าหาความรู้อย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.84)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชูสิทธิ์ ทินบุตร. (2556). การพัฒนาแบบจำลองสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์ในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐกานต์ เมยเค้า. (2557). เมนทอลโมเดลของผู้เรียน ที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์วิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึก บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นุชนาฎ เนสุสินธุ์. (2559). ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสติ์ที่บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(3), 46-54.
ปิยะพงษ์ งันลาโสม. (2564). การพัฒนาบอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และเจตคติต่อการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พร้อมเพื่อน จันทร์นวล. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม KAHOOT เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้วรรณคดีไทย. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์]. มหาวิทยาลัยรังสิต.
วิมลลักษณ์ จันทนพิมพ์ และ วัฒนา ถนอมดี. (2566). การศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(4), 81-90.
ศรเพชร สีหะราช และสุมาลี ชัยเจริญ. (2561). กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหา สําหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศลาว. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(1), 9-20.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2553). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. คลังนานาวิทยา.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.
สุระ น้อยสิม และ สุชาติ วัฒนชัย. (2563). ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี เรื่อง คำสั่งควบคุมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(77), 50-61.
อรุณ เมืองลอย. (2556). สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรุณี คงเกษม. (2559). ผลการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. DAVID McKAY.