ต้นทุนและผลตอบแทนการสานกระเป๋าจากเส้นพลาสติกของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มจักสานบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการสานกระเป๋าจากเส้นพลาสติกของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวน 7 ราย ใช้วิธีสถิติพรรณนานำข้อมูลมาวิเคราะห์ต้นทุน รายได้จาการจำหน่าย กำไรขั้นต้นและจุดคุ้มทุน ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนของการสานกระเป๋าจากเส้นพลาสติกต่อหน่วยเท่ากับ 214.11 ประกอบด้วย วัตถุดิบ 48 บาทต่อหน่วย คิดเป็นร้อยละ 22.42 ค่าแรงงาน 166 บาทต่อหน่วย คิดเป็นร้อยละ 77.53 และค่าใช้จ่ายการผลิต 0.11 บาทต่อหน่วย คิดเป็นร้อยละ 0.05 มีรายได้จากการจำหน่ายใบละ 250 บาท จำนวน 2 หน่วยต่อวัน เท่ากับ 500 บาท ต้นทุนของการสานต่อวัน เท่ากับ 428.22 บาท คิดเป็นกำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายต่อวัน เท่ากับ 71.78 บาท รายได้จากการจำหน่ายต่อเดือน 15,000 บาท ต้นทุนของการสานต่อเดือน เท่ากับ 12,846.60 บาท คิดเป็นกำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายต่อเดือน เท่ากับ 2,153.40 บาท มีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 2.33 ใบ คิดเป็นเงิน 582.50 บาท
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิ่งกนก รัตนมณี, ณพงศ์ วิวัฒน์สรรพกิจ, ปรัชญศรัณย์ มรรษนัยน์, ปิยะวัฒน์ โสธารัตน์ และวิชชากร จินดากุล. (2560). การศึกษาการคํานวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดตรัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 75–84.
ฐิศิรักน์ โปตะวณิช และวลัยกร ก้านลาย. (2565). การวางแผนตลาดผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานพลาสติกของกลุ่มแม่บ้านชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 21(2), 232-254.
ณัฐนรี ขำเอี่ยม. (2557). การออกแบบกระเป๋าจากเส้นพลาสติก ชุมชนบ้านบุ่ง ตำบลศรีภิรมย์ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการ ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ทิพวรรณ รัตนพรหม, นิฟาตีฮะ ปัตนวงศ์, นันทิกานต์ ประสพสุข และ เนตรวดี เพชรประดับ. (2564).การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์กล่องซิปรอบจากกระจูดรายา: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านพรุกาบแดง 110/1 หมู่ที่7 ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อการกำหนดราคาขายที่เหมาะสม. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12, น.1531-1544. หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
นันทนา แจ้งสว่าง. (2566). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตกะหรี่ปั๊บของบ้านสวนพันจิตร ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารลวะศรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 7(1), 91-101.
ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11). (2565, 19 กันยายน). ราขกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 221 ง. หน้า 4 - 5.
ประภาภรณ์ เกียรติกุลวัฒนา. (2561). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
พวงทอง วรรณีเวชศิลป์, กิตติวงค์ สาสาด, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ และ จรัสศรี หัวใจ.(2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารธุรกิจกลุ่มอาชีพกระเป๋าสานเส้นพลาสติกตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 5(2), 9-15.
เพ็ญนภา หวังที่ชอบ และ สุภลัคน์ จงรักษ์. (2564). การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารงานของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษากลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านกูบ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 122-130.
มาลิณี ศรีไมตรี และ นิภา ชุณหภิญโญกุล. (2560). การพัฒนากิจกรรมทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์หวดนึ่งข้าวอัจฉริยะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเชิงนวัตกรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(2), 215–225.
มาลีรัตน์ สาผิว, รุ่งฤดี ภิรมย์ไกรภักดิ์, ธัญญลักษณ์ เวียงอินทร์, ชลธิชา สุทธิประภา, วรรณนิภา ไพรวัลย์ และ พรรนิภา สิงลี. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการทอเสื่อกกลายธรรมชาติแบบพับขนาด 200x200 ซม. ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแพง หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 254-264.
ลำใย มากเจริญ. (2560). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
ศศิวิมล มีอำพล. (2560). การบัญชีเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม จำกัด.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). ประกาศสภาวิชาชีพบัญชีมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่องสินค้าคงเหลือ. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/100652.
สุพะยอม นาจันทร์, ปทุมพร หิรัญสาลี, จุไรรัตน์ ทองบุญชู, วรกร ภูมิวิเศษ และ ลักขณา ดำชู. (2561). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนของกลุ่มหัตถกรรมบ้านชุมพอ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2, (น.923-939). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
เสรี พงศ์พิศ. (2552). เศรษฐกิจเพียงเกิดได้ถ้าใจปรารถนา. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.