การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

นัชชา อู่เงิน
อมรรัตน์ ช่อประพันธ์
อรวรรณ เจริญรัตน์
มัณณธูร จารุโณปถัมภ์
เจษฎากรณ์ รันศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบทดสอบ แบบประเมินโครงการแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละของค่าประสิทธิภาพ ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.88/81.81 เมื่อ เทียบกับเกณฑ์ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.31, S.D. = 0.73)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผ้เรียนเป็นศูนย์กลาง. ใน เอกสารชุด แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (2554). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อินทนิล.

ธนา นิลชัยโกวิทย์ และ อดิศร จันทรสุข. (2552). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการ เปลี่ยนแปลง:คู่มือกระบวนการจิตตปัญญา. นครปฐม: ศูนย์จิตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัสสกรณ์ วิวรรธมงคล. (2564). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับนักศึกษาครู. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิลุบล สินธุมาลย์. (2557). การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) กับการศึกษาเอกสารและหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์. 18032015145033_article.doc (live.com).

ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ และ ดารณี คำวัจนัง. (2545). สอนเด็กให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ : เสริมสิน พรี เพรส ซิสเท็ม.

สุรเดช สิทธิรักษ์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดวยการจัดการเรียนรู้แบบ (Active Learning) ในรายวิชาการจัดการงานส่วนหน้าโรงแรม ของนักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการโรงแรมวิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์ พณิชยการ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2561). การเรียนรู้เชิงรุก : กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 61-71.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น : ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: กรุงธนพัฒนา.