การจัดประสบการณ์ด้วยเทคนิคการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์ด้วยเทคนิคการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการสัมพัทธ์ด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์ด้วยเทคนิคการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชายและหญิงชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ 5-6 ปี โรงเรียน บ้านโคกกลางบ่อหลุบ ตำบลโนนราษี อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) แผนการจัดประสบการณ์ด้วยเทคนิคการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (2) แบบประเมินความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า การจัดประสบการณ์ด้วยเทคนิคการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางสามารถส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย โดยหลังการจัดประสบการณ์ด้วยเทคนิคการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เด็กปฐมวัยมีความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษค่าเฉลี่ยเท่ากับ 62.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.00 ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษค่าเฉลี่ยเท่ากับ 64.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.18 และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 71.08
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. คุรุสภา.
กัลยาณี คำมุลนา. (2553). การพัฒนาทักษะการฟัง - พูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลพิมานเด็ก จังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชัน.
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). ตักสิลาการพิมพ์.
มณี อินทพันธ์. (2553). การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง : วิวัฒนาการและการนำไปใช้กับผู้เรียนต่างบุคลิกภาพ รูปแบบการเรียนและระดับความสามารถทางภาษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตไม่ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
โรงเรียนบ้านโคกกลางบ่อหลุบ. (2565). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2565. โรงเรียนบ้านโคกกลางบ่อหลุบ.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยการเรียนรู้. (2556). การสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. บริษัท สุภัชนิญค์พริ้นติ้ง กรุ๊ปจำกัด.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. ใยไหมครีเอทีฟ กรุ๊ป.
Asher, J. (1979). The total physical response: Theory and practice. The New York Academy of Sciences.
Bruner, J. (1966). Toward a theory of instruction. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Dewey, J. (1944). How We Think. Health co., th.
Edward Lee Thorndike. (1874-1949). The American Journal of Psychology. JSTOR, www.jstor.org/stable/1418943. Accessed 20 Oct. 2023.
Piaget, J. (1960). The child conception of the world. Little FieldAdam.
Richards, J. C., & Rodgers, T. S. (1986). Approaches and methods in language leaching: A description and analysis. Cambridge University Press.
Vai, R. (1987). Learning by doing: Method and techniques that work. That/TEOL, Bangkok: Thailand.