การรู้สะเต็มของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา รายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการรู้สะเต็มของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูผ่านกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ประชากรคือนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 180 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 30 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษามีค่าความสอดคล้องของแผนเท่ากับ 4.56 และ แบบวัดการรู้สะเต็ม เป็นแบบ Likert Scale มีจำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ( = 0.98) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐานผลการวิจัยพบว่า นักศึกษานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ในวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนทุกคนคิดเป็นร้อยละ 100 มีระดับ การรู้อยู่ระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.47 – 4.70 และมีภาพรวมของระดับการรู้สะเต็ม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.61 และ S.D.= 0.65)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 334-348.
กรรณิการ์ เกศคำขวา, ลัดดา ศิลาน้อย และ อังคณา ตุงคะสมิต. (2565). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM(Social Studies-STEM) ในรายวิชา ส 22107 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสาวิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 257-274.
นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์, 9(1), 64 – 71.
ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2561). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาตามแนวทาง STEM Education (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท วีสต้า อินเตอร์ปริ้นท์ จำกัด.
รุ่งรัตน์ ธรรมทอง. (2565). เอกสารมคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน รหัส ED31206. ใน หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา STEM Education. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร,17(2), 201-207.
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2566). SEAT Project and STEM Education: กิจกรรมเชิงรุกสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(2),254-268.
Anabousy, A and Daher, W.(2022). PRE-SERVICE TEACHERS’ DESIGN OF STEAM LEARNING UNITS: STEAM CAPABILITIES’ ANALYSIS. Journal of Technology and Science Education, 12(2), 529-546.
Kavak, S. (2023). The Evolution and Global Significance of STEM Education in The 21st Century. The Journal of International Scientific Researches, 8(3), 410-415.
Salimi,G., Mohamma, M., Torkzadeh,J. and Heidar,E. (2023). team-based and Collaborative Learning Studies in Flipped Classrooms: A Scoping Review in Higher Education . Interdisciplinary Journal of Virtual Learning in Medical Sciences, 13(3), 149-164.
Srikoom, W. and Faikhamta,C. (2018). Assessing In-service Teachers’ Self-efficacy and Beliefs about STEM Education. Journal of Education, Mahasarakham University, 12(4),169-186.
Tati,T , Firman,H and Riandi,R. (2017). The Effect of STEM Learning through the Project of Designing Boat Model toward Student STEM Literacy. International Conference on Mathematics and Science Education (ICMScE). pp1-9.