การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน และเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดเชิงคำนวณ และความพึงพอใจของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย 2 จังหวัดขอนแก่น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน บทเรียนบนเว็บ วิชาวิทยาการคำนวณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ และแบบสำรวจความพึงพอใจ สถิตที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าทีแบบหนึ่งกลุ่มเทียบกับเกณฑ์
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานมีประสิทธิภาพ 86.03/87.82 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงกว่าเกณฑ์คะแนนมาตรฐานที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 จากคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 100 ผลคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 100 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในภาพรวมในระดับพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชนันธิดา ประพิณ, กอบสุข คงมนัส และ วารีรัตน์ แก้อุดร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 30-47.
ดุษฎี ศรีสองเมือง และ เหมมิญชี ธนปัทม์มีมณี. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการ คำนวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(18), 101-111.
นภสร ยลสุริยัน. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดแบบ STEM EDUCATION เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน,มหาวิทยาลัยศิลปากร).
นภาพร ศรีสุข. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
พุทธชาติ ศรีประไพ. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการ สร้างนวัตกรรมของผู้เรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
รัตติกาล จตุพรเทียนชัย, ชลาธิป สมาหิโต และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2564). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การคิดเชิงคำนวที่มีต่อความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 366-380.
รุจิรา เศารยะสกุล และ ศุภโชค สอนศิลพงศ์. (2564). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(11), 177-191.
วชิระ ทองศรี. (2564). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณในโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วรางรัตน์ เสนาสิงห์. (2562). การสอนวิทยแบบสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21. คลังความรู้ SciMath. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2566, จาก https://www.scimath.org/article-science/item/9607-21-9607
วีระพงษ์ จันทรเสนา. (2563). การประเมินองค์ประกอบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โปรแกรมเชิงจิตภาพที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สมศักดิ์ ภู่วิดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: The Knowledge Center.
สันติภาพ ศรีบาลแจ่ม และ เหมมิญชี ธนปัทม์มมณี. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนผสมผสานแบบค้นพบ เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(16), 133-144.
สุภาวดี คงทอง. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).