กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ

Main Article Content

วัฒนา คณาวิทยา
รุ่งแสง กฤตยพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศของกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (4) แนวทางจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า จากการใช้แนวคิด หลักการ และทฤษฎีในการวิเคราะห์เกี่ยวกับกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศพบว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมายซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยจึงต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะซื้อขายบังคับ แต่โดยที่กฎหมายไทยดังกล่าวไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติอันเป็นที่นิยมกันในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศจึงมีอุปสรรคต่อนักธุรกิจชาวไทยที่ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศกับนักธุรกิจของประเทศอื่นซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงได้เสนอกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย (1) คำนิยาม (2) หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป (3) หมวด 2  การโอนกรรมสิทธิ์ (4) หมวด 3 หน้าที่ความรับผิดของผู้ขาย (5) หมวด 4 ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง (6) หมวด 5 หน้าที่ของผู้ซื้อ และ (7) หมวด 6 การเลิกสัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุมพิตา เรืองวิชาธร. (2563). การบูรณาการกฎหมายซื้อขายของอาเซียน: ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายซื้อขายของประเทศไทยและ CISG. วารสารนิติศาสตร์, 49(1), 131-147.

ชวลิต อัตถศาสตร์. (2558). คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศ (กฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายระหว่างประเทศ และการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ. สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ชวลิต อรรถศาสตร์. (2553). คำอธิบาย กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. สำนักกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา. สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ปรียานันท์ รักษกุลวิทยา. (2558). ปัญหาการบังคับใช้ INCOTERMSในศาลไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีการโอนความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าตามสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ. สุทธิปริทัศน์. 29(91), 148-164.

สุทธิพล ทวีชัยการ. (2545). บทวิเคราะห์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง Incoterms และกฎหมายซื้อขายระหว่างประเทศ. ใน คู่มือการศึกษาวิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. ม.ป.ท.

Agaoglu C. (2020). Incoterms® 2020. Public and Private International Law Bulletin, 40(2), 1113–1149.

Baena-Rojas, Jose Jaime. (2022). Technique for estimation of costs and prices in contracts for the international sale of goods based on incoterms®. Acta logistica- International Scientific Journal about Logistics, 9(2), 171–181.

PALIU, Lucia. (2012). Development of the International Trade in Terms of Incoterms 2010 Rules. Annals of “Dunarea de Jos” University of Galati Fascicle I. Economics and Applied Informatics, 18(1), 99–106

Yaakob, Sabariah. (2018). INCOTERMS Selection Factors and Its Effect on Export Performance. Journal of Advanced in Business, Marketing, and Supply Chain Management, 2(1), 9-18.