การพัฒนาการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัย เรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา โดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นที่สามารถส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง (อายุระหว่าง 4 – 5 ปี) ที่กำลังศึกษาอยู่ที่กําลังศึกษาอยู่ระดับ ปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านกิ่วดงมะไฟ อําเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมเกมตามแนวคิดไฮสโคป จำนวน 3 แผน ได้แก่ แผนที่ 1 เจ้าหนูน้อย นักสังเกต แผนที่ 2 เจ้าหนูน้อยจอมจัดวาง แผนที่ 3 เจ้าหนูน้อยเข้าใจละนะ 2) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยสำหรับทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (t-test) ผลวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมเกมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นมีประ สิทธิภาพเท่ากับ 80.00/92.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) การจัดกิจกรรมเกมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นก่อนและหลัง การทดลองของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านกิ่วดงมะไฟ จังหวัดอุดรธานี มีทักษะการคิดวิเคราะห์ภายหลังได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อ ธรรมชาติท้องถิ่น สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปโดยใช้สื่อธรรมชาติท้องถิ่นทั้ง ภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิการ์ สุริยะมาตร. (2560). การพัฒนากิจกรรมเสรีตามแนวคิดของไฮสโคปในการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี). โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัญญชลา ศิริชัย. (2549). ผลของการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. ตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
กุลละชาติ ชาญศรี. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฎฐา มหาสุคนธ์. (2561). การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ ของนักเรียนอนุบาลชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณัฐญา นันทราช. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ณัฐณิชา รูปให้.(2566). การพัฒนาความสามารถด้นการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 8). 119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
พจนารถ บุญพงษ์. (2549). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมฝึกทักษะการคิด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล. สำนักนโยบายด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม สำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา.
พิสณุ ฟองศรี. (2552). วิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ด่านสุทธาการพิมพ์.
วิลันดา ตรีตุนา. (2560). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปที่ส่งเสริม ความสามารถทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองหลักสูตรการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เยาวะภา เดชะคุปต์.(2542) การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. เอ พี กราฟฟิค ดีไซน์.
รุสนี เจะเตะ, ปรีดา เบ็ญคาร และ อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว. (2563). ผลการจัดกิจกรรมตามแนวคิด ไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11, 1431-1445. สภาพการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ลักษณา แก้วกอง. (2550). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยเกมการศึกษาของเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิชาญ ไทยแท้ และคณะ. (2563). ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 97-109.
สาอาดะฮ์ หมุนนุ้ย และ น้ำเพชร นาสารีย์. (2565). การศึกษาผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ การใช้เกมกระดาน เรื่อง ดาวในระบบสุริยะ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ เชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(3), 1-15.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). รายงานการสังเคราะห์สภาวการณ์และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย.
สุมาลี หมวดไธสง. (2554). ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุเมธ งามกนก. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา แห่งประเทศไทย, 1(2), 59-66.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). รายงานการสังเคราะห์สภาวการณ์และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์เลขาธิการสภาการศึกษา.
อมร ภูหอมบุญ,แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2565) การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคป ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3. วารสาร จร.อุบลปริทรรศน์,7(1), 457-465.
อารมณ์ สุวรรณปาล. (2551). การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 7-10. (พิมพ์ครั้งที่2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
Piaget, J. (1964). Cognitive Development in Children Development and Learning. Journal of Research in Science Teaching, 2, 176-186.