ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิด 6P Model โดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นสื่อ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหา เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

กิตติศักดิ์ จันทร์หล่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิด 6P Model โดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นสื่อ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหา เรื่องรูปสี่เหลี่ยม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิด 6P Model โดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นสื่อ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหา เรื่องรูปสี่เหลี่ยม กลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ฮ่าง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 6P Model แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม แบบประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยหาค่าร้อยละความก้าวหน้าทางการเรียน
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 6P Model สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นสื่อ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหา เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ประกอบด้วย แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 6P Model มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหา เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 6P Model โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 45.90

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กิตติศักดิ์ จันทร์หล่ม. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิด 6P Model โดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นสื่อ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ฮ่าง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

เชาวฤทธิ์ พันธ์ทอง. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบประสมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาพื้นที่รูปเรขาคณิตสองมิติ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี. [รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงไม่ตีพิมพ์].

เนตรนารี ไพโรจน์พิริยะกุล. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 17(1), 17-32.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ยุวดี ศรีสังข์. (2564). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(1), 32-45.

โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ฮ่าง. (2563). แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ปพ.5) รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (รายงาน). โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ฮ่าง.

โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ฮ่าง. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self assessment report: SAR).

วิไล โพธิ์ชื่น. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยลัยศิลปากร.

วิสุทธิ์ คงกัลป์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ MESUK Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนควนเนียงวิทยา อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา.วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 56-64.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมินการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ PISA 2018. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง และ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2561). รูปแบบการสอนแนวใหม่สำหรับการวัดในรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 118-127.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. (2563). สรุปโครงการการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). (สำเนา).

สุรชัย สุขรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนเชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 4(11), 68-85.

อารีย์ พาวัฒนา, พรพิมล ชูสอน, สมหวัง นิลพันธ์, สุภาภรณ์ ประสานพาณิช, อักขราวุธ กันหาป้อง และ ภณอนงค์ จันทร์เทศ. (2564). การศึกษาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนที่มากกว่า 1,000 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด และวิธีการศึกษาชั้นเรียน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 301-316.

อุษณีย์ สีม่วง และ จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2565). การพัฒนากิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Modern Learning Development, 7(11), 281-295.