ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการปฏิบัติงานต่อประสิทธิภาพในการใช้บัญชีชุดเดียวของ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

มัญชุพัฒน์ ธารณ์สมบูรณ์
วัลย์จรรยา วิระกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครพนม (2) เพื่อสำรวจปัจจัยนโยบายการปฏิบัติงานต่อประสิทธิภาพในการใช้บัญชีชุดเดียวของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครพนม และ  (3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการปฏิบัติงานในการใช้บัญชีชุดเดียวกับประสิทธิภาพการใช้บัญชีชุดเดียวของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครพนม เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดนครพนม จำนวน 394 สุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Selection) และแบบอย่างง่าย (Simple random Sampling) เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ด้วยสถิติ Factor Analysis และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ของเพียร์สัน (Pearson)
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครพนม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานภาพสมรส ตำแหน่งผู้จัดการ มีรูปแบบธุรกิจเป็นบริษัทจำกัด ประเภทธุรกิจเป็นธุรกิจการบริการ ช่องทางการจำหน่ายของกิจการอื่น ๆ  มีจำนวนพนักงานบัญชี 1 - 2 คน งานด้านกระบวนการทางบัญชีส่วนใหญ่ทำงานบัญชีโดยคอมพิวเตอร์ มีทุนจดทะเบียนจำนวน 1 - 5 ล้านบาท แหล่งเงินทุนหลักของกิจการ ส่วนใหญ่เป็นทุนของตนเองและ  สถาบันการเงินหลักการในการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่เน้นประสบการณ์การบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการปฏิบัติงานต่อประสิทธิภาพในการใช้บัญชีชุดเดียวของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครพนม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2559, 22 มกราคม). มาตรการบัญชีชุดเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs. https://www.rd.go.th/fileadmin/download/sme/1std_040159edit.pdf

กรมสรรพากร. (2562, 14 มีนาคม). สรรพากรผนึกกำลัง 4 องค์กรภาครัฐและเอกชนขับเคลื่อน SMEs บัญชีเดียวในปี 2562. https://rd.go.th/fileadmin/user_upload/news/news25_2562.pdf

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ณัฐภัทร ยอดนิน. (2564, 21 กุมภาพันธ์). รู้กฎหมายง่ายนิดเดียว “NPAEs คืออะไร เกิดขึ้นจากไหน และลักษณะขอบเขตการใช้งานส่งผลต่อมาตรฐานการรายงานทางเงินไทย (TFRSs) อย่างไร”. https://nattapatfirm.com/กฎหมาย/npaes-คืออะไร/.

ธรรมนิติ. (2561, 26 กันยายน). รู้จักกับมาตรการภาษี “บัญชีชุดเดียว” . https://www.dharmniti.co.th.

ธวัช ภูษิตโภยไคย. (2560). การบัญชีกับการจัดการสำหรับ SMEs. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(40), 76-81.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

เพียร์พาวเวอร์. (2562, 30 มกราคม). ภาษีบัญชีเดียว คืออะไร ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ. https://www.peerpower.co.th/blog/smes/tax-sme-2019/.

วีระวรรณ ศิริพงษ์. (2560). การใช้บัญชีบริหารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดสงขลา. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 15(1), 59-72.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2548). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.