การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนการสอน เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้หนังสือแบบฝึกหัด

Main Article Content

ปาริตา สายนันไชย
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือแบบฝึกหัด เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนการสอน เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้หนังสือแบบฝึกหัด 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการจัดการเรียน การสอน เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้หนังสือแบบฝึกหัด กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหมูสี จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หนังสือแบบฝึกหัดวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือแบบฝึกหัดวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของ จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ จำนวน 40 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการสอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกหัดวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ จำนวน 14 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent ผลการวิจัย หนังสือแบบฝึกหัดวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.38/80.00 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนการสอน เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้หนังสือแบบฝึกหัด พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการจัดการเรียนการสอน เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้หนังสือแบบฝึกหัด พบว่า ภาพรวมของนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 ฉบับปรับปรุง 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2545). การสอนภาษาไทยขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ถวัลย์ มาศจรัส, สมปอง แว่นไธสง, และ บังอร สงวนหมู่. (2550). นวัตกรรมการศึกษา ชุด แบบฝึกหัด-แบบฝึกเสริมทักษะ. เซ็นจูรี่.

ทรงภพ ขุนมธุรส และ อัจฉรา แซ่หว้า. (2563). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค โดยใช้ชุดแบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอุดมดรุณี. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีราภรณ์ ทรงประศาสน์. (2551). การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการแต่งประโยคสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล. [การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพวรรณ ชาติผา. (2556). การพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราโดยใช้แบบฝึกกลุ่มสาระการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/11612/10468

รุจิรา ศรีสุภา. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการแปลภาษาจีนและความพึงพอใจตอการใชแบบฝกหัดเสริมทักษะของนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีน ชั้นปที่ 3. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อนงพันธุ์ ใบสุขันธ์. (2551). การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการคิด ของนักเรียนชั้นอนุบาล (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Lowrey, Eleanor Blodwyn Lane. (1978). The Effects of Four Drill and Practice Time Unit on the Decoding Performance of Students with Specific Learning Disabilities, Dissertation Abstracts International. 39(9): 817-A.

McPeake, P. G. (2001). The effects of original systematic study worksheets, reading level and sex on the spelling achievement of sixth grade students [CD-ROM]. Dissertation Abstracts international Item, 1799-A.

Pearman, Cathy J. (2004). Effects of Electronic Text on the Independent Reading Comprehensionof Second-ade Students. Dissertation Abstracts International. 64(07): 2427-A. http://www.kroobannok.com/blog/30588.

Rass, R. A. (2001). Integrating Reading and Writing for Effective Language Teaching. English Teaching Forum, 39(1), 30-35.