การวิเคราะห์ต้นทุนและแนวทางการกำหนดราคาขายตามวิธีต้นทุนของผลิตภัณฑ์ กระเป๋าสานเส้นพลาสติกของวิสาหกิจชุมชนบ้านขามป้อม ตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ภัทรภร กินิพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตกระเป๋าสานเส้นพลาสติกของวิสาหกิจชุมชนบ้านขามป้อม ตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น 2. วิเคราะห์แนวทางการกำหนดราคาขายตามวิธีต้นทุนของกระเป๋าสานเส้นพลาสติกของวิสาหกิจชุมชนบ้านขามป้อม ตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ภายใต้แนวทาง 2 ทางเลือก คือ 1) กำหนดราคาขายตามวิธีต้นทุนเต็ม 2) กำหนดราคาขายตามวิธีต้นทุนผันแปร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต พบว่า ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 6,551.47 บาทต่อเดือน โดยจำแนกเป็นต้นทุนวัตถุดิบ 921.47 บาท ค่าแรงงาน 5,100 บาท และ ค่าใช้จ่ายการผลิต 530 บาท ต้นทุนกระเป๋าสานเส้นพลาสติก 54.60 บาท ต่อใบ การกำหนดราคาขายโดยวิธีต้นทุนรวมเท่ากับ 119.20 บาทและต้นทุนผันแปร เท่ากับ 117.02 บาท เนื่องจากผลการคำนวณมีราคาที่ใกล้เคียงกัน ผู้วิจัยเสนอแนวทางการกำหนดราคาขายที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานเส้นพลาสติกในราคา 120 บาทต่อใบ ถ้าต้องการกำไร 9,000 บาท ต้องขายกระเป๋าสานพลาสติก จำนวน 159 ใบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งกนก รัตนมณี,ณพงศ์ วิวัฒน์สรรพกิจ,ปรัชญสรัณย์ มรรษนัยน์,ปิยะวัฒน์ โสธารัตน์และวิชชากร จินดากุล.(2560). การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดตรัง.วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 65-84.

พรรษพร เครือวงษ์. (2560). การบัญชีต้นทุนรวมและการบัญชีต้นทุนผันแปร: แนวคิดและความแตกต่าง. ในการประชุมวิชาการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (หน้า 184-188). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

เพ็ญนภา หวังที่ชอบ. (2561). วิเคราะห์ต้นทุนและระบบบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มจักสานหวาย บ้านวัดนาค ตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 2(1), 79.

ไพบูลย์ พจงวงศ์. (2561). การบัญชีเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: บริษัท แสงดาว จำกัด.

ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). การบริหารต้นทุนการผลิตและการวางแผนกำไรผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางนางร้าอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 9(1), 47-56.

ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ขนมไทยโบราณของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 169-179.

วันชัย ประเสริฐศรี. (2556). การบัญชีเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2564). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

สัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์ และ นีรนาท เสนาจันทร์. (2565). ปัญหาการจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 170-182.

สำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2566). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566 http://www.sceb.doae.go.th/index_n2.html

อรอุมา สำลี, กนกนาถ ศรีกาญจน์ และ เจษฎา ร่มเย็น. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,9(2), 57-77.