การพัฒนาหลักสูตรการตลาดตามแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ กรณีศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

นงนุช ไชยผาสุข
วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล
ศุภิกา ประเสริฐพร
ดากาญน์ดา อรัญมาลา
ศุภกร ใหม่คามิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการการตลาด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและ การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกของหลักสูตรที่มีต่อการจัดการศึกษาของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการการตลาด โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศิษย์เก่า ผู้ประกอบการที่มีการจ้างงานบัณฑิตของหลักสูตร จำนวนรวม 154 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร และแบบสอบถามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย MANOVA, Multiple Correspondence Analysis: MCA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารคณะ และกรรมการบริหารหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า (1) ความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกต้องการสูงสุดที่ปรารถนาให้บัณฑิตของหลักสูตรฯ ต้องทำได้ คือ ความสามารถในการวางแผนการวิจัยเพื่อค้นหาองค์ความรู้สมัยใหม่ทางด้านการตลาด และนำไปวางแผนการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (gif.latex?\bar{X}= 4.83, S.D.= 0.85) โดยนำมาสู่การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรได้ 13 ข้อ และมีแนวปฏิบัติในการจัด   การเรียนการสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริงในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของหน่วยกิตในหมวดรายวิชาเฉพาะ (2) ภาพรวมความคาดหวังของ ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกต่อหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.62, S.D.= 0.85) (3) ความคาดหวังโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=.300 sig.=.000)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤชพร ว่องไว. (2564). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการตลาดตามแนวทาง Outcome Based Education (OBE) ในสหรัฐอเมริกา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 21(1), 161-178.

คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564. (2566, 10 ตุลาคม) https://cm.trang.psu.ac.th/course/bachelor-degree/

จิตติมา กิจจาอักษร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ, 45(174), 94-109.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

พิณพนธ์ คงวิจิตต์ และ บุษบา บัวสมบูรณ์. (2563). การศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(2), 201-216.

พิษณุ ฟองศรี. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนักเรียนมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรําไพพรรณี, 12(2), 1-10.

มารุต โกสิยพงษ์. (2562). ความท้าทายและกลยุทธ์การพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาตามแนวทาง Outcome Based Education (OBE): กรณีศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา ภาษาอังกฤษประยุกต์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(1), 127-144.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฏีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทัศน์ ณ บางช้าง. (2562). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 7(2), 1-10.

อัญชลี ไสยวรรณ. (2565). การพัฒนาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (OBE). ใน เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Kanago, L. (2016). Calculating sample size using Yamane formula. The University of Nairobi Journal of Science and Technology, 1(1), 122-137.

Katawazai, R. (2021). Implementing outcome-based eduation and student-centered learning in Afghan public universities: the current practices and challenges. Heliyon journal, 7(5), 1-16.