การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง สระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมชุดหนูดีชวนอ่านสระกับการสอนแบบปกติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติม วิชาภาษาไทยเรื่องสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปชุดหนูดีชวนอ่านสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมกับการสอนแบบปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชมนตรี(ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย Simple Random Sampling ด้วยการจับฉลากโดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/4 เป็นกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทย เรื่องสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 เป็นกลุ่มควบคุมใช้การสอนแบบปกติเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) หนังสือส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมชุดหนูดีชวนอ่านสระ 2) แผนการสอนเรื่องสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องสระเปลี่ยนรูปและสระ ลดรูปเป็นข้อสอบแบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า ความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นและค่าสถิติ t–test Independent Samples ผลการวิจัยพบว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทย เรื่องสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.33/83.56 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนโดยใช้หนังสือส่งเสริม การอ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทยเรื่องสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปสูงกว่าที่สอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2554. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จักรพงษ์ แสนสุริวงศ์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปและความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโนนฮังหนองบัวสามัคคี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิรุณรัตน์ กว้างขวาง และ กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทยเรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดหมูแดงยอดนักอ่านกับการสอนแบบปกติ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 5(2), 266-274.
วรัญญา ไวบรรเทา และ อุษาพร เสวกวิ (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 8(1), 230-240.
สุกัญญา พุ่มเจริญ และ ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์เรื่องสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลชุมชนบางบ่อ (ศุภพิพัฒน์รังสรรค์) โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ 4 MAT วิธีการสอนแบบปกติ. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2561- 4- 1_1563457627_6012610012.pdf
อรพัทธ ศิริแสง. (2563). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดท้องถิ่นยโสธรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลยโสธร. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(2), 325-340.
Sipe, L. (1993). Using Transformations of Traditional Stories: Making the Reading-Writing Connection. The Reading Teacher, 47, 1.