การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

Main Article Content

วัชราวลี เดชจูด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ พบว่า 1) ระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม   การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อจำแนกตามเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). คู่มือการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนการสอนและ บริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ 2565. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2566. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ทองดี พิมพ์สาลี. (2558). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาใน อำเภอนายูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรทิพย์ บรรเทา. (2558). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (เลย–หนองบัวลาภู). [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัทธนันท์ เจียเจริญ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

พิชญาดา สิงหเลิศ. (2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสหวิทยาเขตระยอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิรัญญา พันธุศิริ และจิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(3), 287-298.

สิริรัตน์ สังสุทธิ (2558), การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความพร้อม สู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565. พังงา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

อุเทน เจริญภูมิ. (2560). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการ บริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 31. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. McGraw – Hill.