การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ (Part of Speech) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

มานิดา วงศ์สมบุญ
อรนุช ลิมตศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง ชนิดของคำ (Part of Speech) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่องชนิดของคำ (Part of Speech) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับการสอนแบบปกติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) สำนักงานเขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานครที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้องเรียนรวม 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 36 คนได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องชนิดของคำ (Part of speech) ที่ผู้วิจัย  สร้างขึ้น จำนวน 4 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ จำนวน 10 แผน 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบปกติ จำนวน 10 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเรื่องชนิดของคำ (Part of Speech) ที่มีค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test)
ผลวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง ชนิดของคำ (Part of Speech) มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.75/80.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องชนิดของคำ (Part of Speech)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วย แบบฝึกเสริมทักษะสูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช. 2551. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ณัฏฐ์นรี ละม้ายแข. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับการสอนแบบปกติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดวงสมร อปราชิตา. (2547). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วยหนังสือการ์ตูน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นฤมล แววสอน. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอน]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระสวณัฐกร ฐิตปรกฺกโม. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองกล้า. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา Buddhist ASEAN Studies Journal (BASJ), 8(2), 21-28.

พิมพ์ใจ เพชรฤทธิ์. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ไพรินทร์ ชมภูภูมิ. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Part of Speech สำหรับ นักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยบทเรียนโปรแกรมและจัดการเรียนรู้แบบปกติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภวรัญชน์ รุจิวีรานันท์กุล. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษ เรื่อง Direct and Indirect Speech. โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม.

มณฑนากร เจริญรักษา. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศบัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อกนิษฐ์ รามศรี. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนบ้านพัฒนา 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษ เรื่อง Occupations. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภัสรา สัตถา.(2561).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Grammar in Context กับวิธีสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์ คลองสิบสาม ปทุมธานี. [วิทยานพนธ์ปริญญาบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Rumelhart, D.E. (1981). Schemata: The Building Blocks of Cognition. John Guthrie (Ed.). Comprehension and Reading Reviews. International Reading Association.

Stageberg, C.N. (1997). An Introductory English Grammar. Holt,Rinehart and Winston.