การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชัน 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ 9 สถานที่สักการะ ในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง 2) ศึกษาประสิทธิภาพของสื่อแอปพลิเคชัน 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว/บุคคลทั่วไปในการรับรู้ผ่านสื่อแอปพลิเคชัน 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยว/บุคคลทั่วไปที่ใช้งานสื่อแอปพลิเคชัน 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลย จำนวน 90 ราย ใช้วิธีเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อแอปพลิเคชันการรับรู้ 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง 2) แบบประสิทธิภาพของ สื่อแอปพลิเคชัน 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว/บุคคลทั่วไปในการรับรู้ผ่านสื่อแอปพลิเคชัน 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ 9 สถานที่สักการะ ในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง สามารถสร้างการรับรู้ของนักท่องเที่ยว/บุคคลทั่วไปและนำไปใช้งานได้จริง 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของการออกแบบและพัฒนา สื่อแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.26, S.D.= 0.61) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว/บุคคลทั่วไปการออกแบบและพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ 9 สถานที่สักการะ ในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.50, S.D.= 0.51)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิตรนันท์ ศรีเจริญ, ดวงจันทร์ สีหาราช และ อนุพงษ์ สุขประเสริฐ. (2562). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8 แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 84-94.
ณกฤช รัตนวงศา, สุวรรณรัตน์ พุทธอุปถัมภ์ และ เพียงฤทัย หนูสวัสดิ์. (2562). แผนที่ท่องเที่ยวแบบความจริงเสมือน กรณีศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาระคาม, 11(1), 33-44.
นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. http://www.mgts.lpru.ac.th/journal/index.php/mgts/article/download/382/131
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและการพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วรรณษา แสนลำ, ศิริพร เลิศยิ่งยศ และ สุภาวดี มณีเนตร. (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 54-69.
ศิริรัตน์ พริกสี. (2556). นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนเคมี. นิตยสาร สสวท, 4(181), 17-18.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). กิจกรรมจัดทําองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจงานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center) ปีงบประมาณ 2561. http://www.sme.go.th
สุรีรัตน์ อินทองมาก และ ชุติมา หวังเบ็ญหมัด. (2562). การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 สงขลา, ประเทศไทย.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2564). อพท. ดึง “เอ็กซ์แพท” เที่ยวเชื่อมโยงข้ามจังหวัด. https://www.dasta.or.th/th/article/382