การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลและเส้นทางประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้า ที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ธนารัตน์ สุธีลักษณ์
ปราณี เอี่ยมละออภักดี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลที่ส่งผลต่อความภักดี ในการใช้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) ศึกษาเส้นทางประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้าที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากกลุ่มตัวอย่างของลูกค้าที่มาใช้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ค่าความถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการศึกษา พบว่า การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัล และเส้นทางประสบการณ์ใช้บริการของลูกค้า ที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถสรุปได้ว่า การทําการตลาดผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การทําการตลาดบนสังคมออนไลน์ และการทําป้ายโฆษณาตัวสินค้าที่แสดงผ่านหน้าเว็บไซต์ ส่งผลเชิงบวกต่อความภักดีในการใช้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนการใช้งานสินค้าและบริการ และการรับรู้ ส่งผลเชิงบวกต่อความภักดีในการใช้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวร่วมกันพยากรณ์ ตัวแปรตามมีค่าเท่ากับร้อยละ 48.4 (AdjR2 = .484)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตระวี ทองเถา. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างนวัตกรรมบริการคุณภาพความสัมพันธ์และความภักดีของลูกค้าในธุรกิจผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตหลักสูตร สาขาวิชาการตลาด]. มหาวิทยาลัยสยาม.

โชติกะ เรืองบุญสุข. (2562). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้า CP ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญา สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาคารกสิกรไทย. (2561, 27 มิถุนายน). เส้นทางประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้า. https://www.kasikornbank.com/TH/k-online/k-corporate-connect/

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2557). คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และสร้างสรรค์ผู้เรียน. ธารอักษร.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2533) รายงานการวิจัยเรื่องปัญหาและความต้องการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ชลบุรี. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชัย นรดี. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลและเส้นการเดินทางของลูกค้าที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดี ในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์โรบินสัน. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ]. มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ.

สุภกร ตันวราวุฒิชัย. (2564). ปัจจัยการตลาดแบบดิจิทัล การโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และความสามารถด้านโลจิสต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(22), 23-40.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons, Inc.

Wertime, K., & Fenwick, I. (2008). DigiMarketing: The essential guide to new media and digital marketing. John Wiley & Sons (Asia).