การศึกษาแนวทางการลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ส่วนบริหารหนี้เขตชลบุรี

Main Article Content

ศุภชัย รัตนพันธ์
รวิดา วิริยกิจจา

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางการลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ส่วนบริหารหนี้เขตชลบุรี เกิดจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ลดลง ทำให้เกิดจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบให้ธนาคาร ต้องดำเนินการตั้งสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ที่เพิ่มขึ้น 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่ส่วนบริหารหนี้เขตชลบุรี  ผลจากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดหนี้ค้างชำระเกิดจาก 1) ปัจจัยที่เกิดจากพฤติกรรมลูกหนี้ เช่น มีรายจ่ายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ 2)ปัจจัยที่เกิดจากธนาคาร เช่น อัตราดอกเบี้ยสูงเกินไป 3) ปัจจัยภายนอกอื่น เช่น สภาวะเศรษฐกิจไม่ดีส่งผลต่อรายได้ นโยบายการช่วยเหลือรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ผู้ศึกษาได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและได้เลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อที่ง่าย สะดวก รวดเร็วเข้าถึงกลุ่มลูกค้าโดยการเปิดให้บริการ คลินิกแก้ไขหนี้เคลื่อนที่ ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทันท่วงทีพร้อมแก้ปัญหา และรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาทราบ  ความต้องการของลูกค้าได้ทันที และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธนาคารที่ให้ความสำคัญในเรื่อง การแก้ไขปัญหาให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนอย่างเข้าถึง และเป็นไปตามวัตถุประสงค์คือป้องกันการเลื่อนชั้นหนี้ ลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และได้ปริมาณสินเชื่อที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2560). สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL). https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/statistic/download

จิรารัตน์ ไชยสาลี. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการก่อให้เกิดภาระหนี้สินของประชาชนในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างยั่งยืนและหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการสำรองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ. https://www.bot.or.th/th/coverpage.html.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2566). ข้อมูลธนาคารอาคารสงเคราะห์ https://www.ghbank.co.th/information/report/annual-report

นิตยา ไหวดี, ชูพงษ์ พันธุ์แดง และ นภัสวรรณ ดาทุมมา. (2564). องค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารวิชาการและงานวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 109-110.

ปิยะ ปิติวงษ์. (2563). สาเหตุและแนวทางแก้ไขปริมาณลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย. [การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการเงินบัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วรวุฒิ เทพทอง. (2560). หนี้ถึงกำหนดชำระกับลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้. วารสารจุลนิติ, 14(1), 50-51.

ศุภรา ทองไซร้. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้ NPLs กรณีศึกษาธนาคารออมสินเขตสงขลา 2. [สารนิพนธ์ปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Louzis,D.P., Vouldis,A.T. and Metaxas,V.L.(2012). Macroeconomic And Bank Specific Determinants Of Non Performing Loans In Greece :A Comparative Study Of Mortgage ,Business And Consumer Loan Portfolios. Journal of Banking & Finance, 36(4), 1012-1027.

Yamane, Taro.1967. Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed., New York : Harper and Row.