การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธนาคารอาคารสงเคราะห์ในการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล

Main Article Content

อัจฉราพรรณ โรจนภักดี
ปราณี เอี่ยมละออภักดี

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ในการใช้งานระบบเทคโนโลยีดิจิทัล และศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของพนักงาน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานจากกลุ่มตัวอย่างของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผ่านแบบสอบถาม จำนวน 200 คน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จำนวน 7 คน ผลการศึกษา พบว่าปัญหาคือความต่างระหว่างวัย ความรู้พื้นฐานและทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยี ระบบเทคโนโลยีที่ธนาคารมีและรูปแบบการพัฒนาบุคลากรในปัจจุบัน ยังไม่สอดคล้องต่อความต้องการ รวมถึงข้อจำกัดด้านนโยบายการปฏิบัติงาน สำหรับศักยภาพของบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พนักงานมีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ แต่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง รวมถึงพนักงานมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีขององค์กร ทั้งนี้ แนวทางแก้ปัญหาได้วิเคราะห์การแก้ไขปัญหาจากเครื่องมือแผนผังสาเหตุและผล วิเคราะห์ SWOT และ ใช้ Tows Matrix มากำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา โดยเลือกใช้กลยุทธ์เชิงรุก SO (Strengths-Opportunities) ยกระดับรูปแบบการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล และระบบการเรียนรู้ของธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านหลักสูตรและวิธีการที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่จะสามารถสร้างผลลัพธ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรในการแข่งขันในยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตภาส แย้มนาม. (2560). อุปสรรคและแนวทางการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัลของธุรกิจครอบครัวขนาดกลางและขนาดย่อม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับธนาคารอาคารสงเคราะห์. https://www.ghbank.co.th/information/

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (ม.ป.ป.). รายงานประจำปี 2565. https://www.ghbank.co.th/information/report/annual-report/

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (ม.ป.ป.). แผนแม่บทการบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปี 2566. https://www.ghbank.co.th/information/human-resource-management-and-development/implementation-of-hrm-policies/

นิตยา สุริน. (2562). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล: กรณีศึกษาสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล สำนักงานศาลยุติธรรม. [การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงษ์วัตร บุญสนองโชคยิ่ง. (2563). การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากร สำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท (จุลเจือ), โยธี จันตะนี, ชาญชัย เพียงแก้ว และ ศุภกิจ ภักดีแสน. (2565). รูปแบบการจัดการทุนมนุษย์: กรอบแนวคิดของ Leonard Nadler HUMAN CAPITAL MANAGEMENT MODEL: LEONARD NADLER CONCEPTUAL FRAMEWORK. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2565). เอกสารประกอบการคำบรรยายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2561). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

สมอุษา วิไลพันธุ์. (2561). การปฏิรูปกระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. [การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุมาลี ปาปะโม , ฉายรุ่ง ไชยกำบัง และ เสาวลักษณ์ จิตติมงคล. (2565). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจสื่อโฆษณาในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 99-113.

สุวิมล กันคง , ฐิติกานท์ สัจจะบุตร , ณัฐพันธ์ บัววราภรณ์ และ พนิตา สุรชัยกุลวัฒนา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการชำระหนี้เงินกู้ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่องรับชำระเงินกู้ (LRM) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย