การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3

Main Article Content

สุริยา ชานกัน
อาคม อึ่งพวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3  2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 437 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความผูกพันที่จะปฏิบัติ ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกันและการไว้วางใจกัน 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 เมื่อจําแนกตามสถานภาพ วุฒิการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมแตกต่างกัน        อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
ชานกัน ส. ., & อึ่งพวง อ. . (2025). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 15(1), 397–412. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/269988
บท
บทความวิจัย

References

ไชยา ภาวะบุตร. (2565). หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณรงค์ศักดิ์ สั่งสอน และ กฤษฎา วัฒนศักดิ์. (2567). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลพบุรี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา]. วิทยาลัยนครราชสีมา.

บุษกร ศรีโมรา, จุฑารัตน์ นิรันดร, ธัญศญา ธรรศโสภณ และณัฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรวลัญช์ พัววิสิทธิ์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศุภลักษณ์ ปะโปตินัง และ อุไร สิทธิแย้ม. (2566). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิต วิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุธารัตน์ ชำนาญเหนาะ และ บุญเลิศ ธานีรัตน์. (2567). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา]. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

สุพล จอกทอง. (2567). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา]. วิทยาลัยนครราชสีมา.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of psychological testing (5 th ed). Harper & Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3),1 607-610.

Swansburg, Russell C. (1996). Management and Leadership for Nurse Manager (2nded). Jones and Bartlett Publishers.