ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของการพึ่งพาตนเองกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ยุคดิจิทัล ในจังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งพาตนเองกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย การศึกษาจะใช้กลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย จำนวน 398 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) หรือการทดสอบสมมติฐาน F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า 1) การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุทางด้านร่างกายอยู่ในระดับมาก ตามด้วย ด้านสังคม จิตใจ และการเงิน ตามลำดับ 2) การยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุด้านการรับรู้ถึงประโยชน์อยู่ในระดับมาก ตามด้วยด้านพฤติกรรมการตั้งใจใช้งาน การรับรู้ความเพลิดเพลิน อิทธิพลทางสังคม และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ตามลำดับ 3) ผู้สูงอายุที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่ต่างกัน จะมีการยอมรับเทคโนโลยีต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 4) ไม่อาจสรุปได้ว่าการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ผลการศึกษาข้างต้นจะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ในการออกแบบนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จารุวรรณ ศรีภักดี. (2565, 19 กรกฎาคม). การขับเคลื่อนมาตรการรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนของประเทศไทย ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ. กรมกิจการผู้สูงอายุ. https://www.dop.go.th/th/know/3/1649
ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน และ กันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 25-36.
ชูศรี วงค์รัตน์. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). เทพเนรมิตการพิมพ์
ต่อตระกูล ไชยอิน (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งพาตนเองกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank (PSUKB). http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17525
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพฯ
พระมหาพีรพัฒน์ พันศิริ (2553). การวัดภาวการณ์พึ่งพาตนเอง (self-reliance) ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:122651
ภคอร จตุพรธนภัทร (2567). การกำหนดนโยบายการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 2(2), 375-386.
วิชนี คุปตะวาทิน (2566) ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยี. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 9(1), 328-334.
สมาน ลอยฟ้า (2554). ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารสนเทศศาสตร์, 29(2), 57-58.
อารียา ศรีแจ่ม (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต]. Rangsit University Intellectual Repository (RSUIR). https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/304