ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

วันทนา มุ่งหมาย
ลีลาวดี พัฒนรัชต์

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์  เขตประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากในปี 2566 ฝ่ายบริหารหนี้ภูมิภาค มีเป้าหมายในการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (NPA) 2,790 ล้านบาท โดยเขตประจวบคีรีขันธ์  มีเป้าหมายตัวชี้วัด (KPI) จากฝ่ายบริหารหนี้ภูมิภาคซึ่งเป็นตัวชี้วัดตามแผนยุทธ์ศาสตร์ของฝ่าย จำนวน  298.20 ล้านบาท  จากผลการดำเนินงาน ณ มิถุนายน 2566 มียอดจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (NPA) จำนวน 117.69 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39.46 ของเป้าหมายทั้งหมด เพื่อให้บรรลุตามตัวชี้วัด (KPI) ของเขตประจวบคีรีขันธ์ ผู้ศึกษาจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย (NPA)
ผลการศึกษา พบว่า 1) ลักษณะประชากรศาสตร์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 33.50 มีอาชีพเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 27.80 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 36.90 ระดับการศึกษาปริญญาตรี  ร้อยละ 60.80 และมีรายได้อยู่ระหว่าง 20,001 – 40,000 บาทร้อยละ 34.80  2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการส่งเสริมการตลาดมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านลักษณะทางกายภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านบุคคล ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( gif.latex?\bar{X}=4.19, 4.15, 4.14, 4.13, และ 4.12)   อยู่ในระดับมาก สำหรับการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้มีข้อเสนอแนะดังนี้คือ  1) ในด้านประชากรศาสตร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ของธนาคารให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้บริการทั้งใน ด้านการให้สินเชื่อดอกเบี้ย เพื่อแข่งขันกับธนาคารอื่นได้ 2) การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) เพื่อให้ธนาคารสามารถขายทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ได้ตามเป้าหมาย ธนาคารต้องรักษามาตรฐานที่มีอยู่เพื่อ ให้มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์และการขายทรัพย์สินรอการขาย รวมถึงการให้พัฒนาบุคลากรของธนาคารให้มีความรู้ทักษะด้านการขายและบริการให้มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักกพันธุ์ แอกทอง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อทรัพย์สินรอการขายของลูกค้า ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐวุฒิ ฮันตระกูล, และชยันต์ ตปนียตุรงค์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อทรัพย์รอขาย (NPA) ของธนาคารกรุงไทย ของประชากรที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2566, 1 กรกฎาคม). ประวัติธนาคารอาคารสงเคราะห์. https://www.ghbank.co.th/about/history

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2566, 7 กรกฎาคม). รายงานประจำปี 2565 ธนาคารอาคารสงเคราะห์. https://www.ghbank.co.th/information/report/annual-report.