ปัจจัยการมุ่งเน้นการตลาด การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว และการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและการเงินที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์สำนักงานใหญ่

Main Article Content

ธีระพงศ์ มลิวัลย์
ปราณี เอี่ยมละออภักดี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการมุ่งเน้นการตลาด ปัจจัยการจัดการโซ่อุปทานสีเขียว และการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและการเงิน ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานใหญ่ จำนวน  400 คน โดยแบบสุ่มตามอัธยาศัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยการมุ่งเน้นการตลาด การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว และการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและการเงิน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์สำนักงานใหญ่ สามารถสรุปได้ว่า การมุ่งเน้นลูกค้า การประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและการเงิน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการดำเนินงานสีเขียว ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ   ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวร่วมกันพยากรณ์ตัวแปรตามมีค่าเท่ากับร้อยละ 48.4  (AdjR2  = .484)
ทั้งนี้ประโยชน์ที่ได้จากการค้นคว้าในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงนโยบาย เช่น ภาครัฐบาลควรเน้นให้การสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีการจัดการฝึกอบรมด้านระบบการจัดการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเป็นการพัฒนากระบวนการผลิตภายในองค์การ ให้ดำเนินงานในทิศทางการสร้างความมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจน            จัดการฝึกอบรมด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบายสาธารณะ เพื่อให้ได้ผลของการมุ่งเน้นการตลาด และการจัดการโซ่อุปทานสีเขียว ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพในการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นให้กับผู้ประกอบการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงานในภาคธุรกิจบริการและส่งผลให้องค์การมีศักยภาพในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการควรให้ความร่วมมือกับการส่งเสริมของภาครัฐ รับผิดชอบต่อสังคมที่อาจจะเกิดผลกระทบจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ ควรปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งการนำไปประยุกต์ใช้เชิงวิชาการ ด้านการมุ่งเน้นการตลาดนั้นเป็นกระบวนการในการพัฒนาและปรับปรุง และสร้างกลยุทธ์ให้กับองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์การ และสามารถที่จะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งถ้านำการจัดการโซ่อุปทานสีเขียวเข้ามาใช้ร่วมกันจะก่อให้เกิดธุรกิจสถาบันการเงินสีเขียว และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต การกำจัด การบำบัดของเสีย และสามารถฟื้นฟูของเสียและมลพิษที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น ธนาคารควรนำกลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทานสีเขียวเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างเคร่งครัดเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถช่วยฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมที่อาจจะถูกทำลายไปในอนาคต  นอกจากนี้ ธุรกิจบริการสามารถนำทฤษฎีการจัดการทรัพยากร ซึ่งเป็นทฤษฎีเครือข่ายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 2 มุมมอง คือ 1) มุมมองเชิงทรัพยากรธรรมชาติ (NRBV) ประกอบด้วย การป้องกันมลพิษ การดูแลผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีในการผลิต การปรับปรุงกระบวนการผลิตที่สามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์การได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าองค์การจะนำไปประยุกต์ใช้ได้มากน้อยเพียงใด และ 2) มุมมองเชิงสัมพันธ์ (RV)  เป็นการสร้างเครือข่ายที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้า หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและเรียนรู้โอกาสใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรีรัตน์ อาดเวียง และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2566). สมรรถนะในการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(8), 129-140.

ฐิตารีย์ เจริญสิทธิศิริ และ บรรดิษฐ์ พระประทานพร. (31 สิงหาคม 2565). การมุ่งเน้นการตลาดที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษา. [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 4 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2022 I Happiness : ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัล. กรุงเทพ, ประเทศไทย.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2534) รายงานการวิจัยเรื่องปัญหาและความต้องการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ชลบุรี : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประทีป จตุรพงศธร , สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และ ฤชชา ยาวิเศษ. (2565). การศึกษาผลกระทบของการมุ่งเน้นตลาด การมุ่งเน้นการเรียนรู้การมุ่งเน้นความเป็น ผู้ประกอบการต่อความสามารถทางนวัตกรรมและผลการดำเนินงานของสหกรณ์ การเกษตรในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 161-174 .

วรรณ์นิสา ศรอินทร์. (2566). ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี. วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ, 2(4), 34-47.

อนุวัฒน์ คำคุณ และ สิริพร ทัตทวี. (2566). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนสีเขียวที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษา บริษัท เดลต้า อีเล็คโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการเทพสตรี I-TECH, 18(1), 86-97.

Carter CR, Carter JR (1998). Inter-organizational Determinants of Environmental Purching: Initial Evidence from the Consumer Products Industry, Decision Science, 29 (3):659-684.

Fortes, J. (2009). Green supply chain management: A literature review. Otago Management Grauate Review, 7, 51-62.

Hopfenbeck, W. (1993). The Green Management Revolution: Lessons in Environmental Excellence. New York: Prentice Hall.

James R. Stock. (1998). Development and Implementation of Reverse Logistics Programs,Oak-Brook, Illionois, Councilof Logistics Management.

Ninlawan C., Seksan P., Tossapol K. and Pilada W. (2010). The Implementaion of Green supply Chain Management Practices in Electornics Industry, International Multi Conference of Engineers and Computer Scientists.

Rao, P. (2004). Greening Production: A South-east Asian Experience. International Journal of Operations and Production Management, 24(3), pp.289-320.

Slater, S. F., & Narver, J. C. (1995). Market orientation, and the learning organization. Journal of Sorensen S & Pinquart M, (2005). Ethnic differences in stressors, resources, and psychological outcomes of family caregiving: a meta-analysis. Gerontologist. 2005. Feb; 45(1):90-106.

Srivastava SK. (2007). Green supply-chain management: a state-of-the-art literature review.

Zhu, Q., Geng, Y., Fujita, T., & Hashimoto, S. (2010). Green supply chain management in leading manufacturers: Case studies in Japanese large companies. Management Research Review, 33(4), 380–392.